ประวัติและความเป็นมา "เหรียญข้าวหลามตัด สมเด็จกรมหลวงชุมพรฯ เนื้อเงิน ปี 2466"

          "เหรียญข้าวหลามตัด สมเด็จกรมหลวงชุมพรฯ เนื้อเงิน ปี 2466"       เหรียญข้าวหลามตัด เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2466 ถือได้ว่าเป็นเหรียญยอดนิยมอันดับหนึ่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 6) ทรงมีพระราชดำริให้จัดสร้าง เพื่อเชิดชูพระเกียรติ และแจกเป็นที่ระลึกในงาน พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2466 เหรียญข้าวหลามตัด เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ ปี พ.ศ.2466 ปลุกเสกโดยหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เกจิผู้มีชื่อเสียง และเป็นพระอาจารย์ของเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ ลักษณะเหรียญเป็นทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ปั๊มข้างกระบอก เจาะหูในตัว ด้านหน้าเหรียญตรงกลางเป็นรูปเหมือนกรมหลวงชุมพรฯ ครึ่งองค์ ฉลองพระองค์เต็มยศนายทหารเรือ โดยรอบสี่เหลี่ยมจารึกข้อความ “กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์” โดยมีลวดลายกระหนกประดับ ด้านหลังตรงกลางเป็นรูปพระอาทิตย์ทรงราชรถ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ ข้อความโดยรอบจารึกว่า “ที่ระฤกงานพระเมรุท้องสนามหลวงวันที่๒๔ธันวาคมพ.ศ.๒๔๖๖” มีการจัดสร้างด้วยกัน 3 เนื้อได้แก่ เหรียญเนื้อทองคำ เหรียญเนื้อเงิน และเหรียญเนื้อทองแดง กะไหล่เงิน และกะไหล่ทอง      “เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ หรือ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์” ทรงเป็นต้นราชสกุล "อาภากร" เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาโหมด พระองค์ทรงได้รับสมัญญานามว่า "องค์บิดาของทหารเรือไทย"      จุดสังเกตด้านหน้า ( มี 1 แม่พิมพ์ )              1. ปลายสระ อุ แหลม              2. หัว ตัว ม มีแบบแตกและไม่แตก              3. ตาลึกคมชัด              4. ตัวการันต์ ติด ตัว ค       จุดสังเกตด้านหลัง ( มี 4 ถึง 5 แม่พิมพ์ )              1. หัวตัว ง มีจุด              2. มีเม็ด งา เล็ก 2 เม็ดอยู่บนพื้นเหรียญ              3. ในหัว ตัว ว มีจุด              4. ถ้าเหรียญสวยจะเห็นเส้นแตกพื้นเหรียญคมชัด จุดสังเกตด้านข้าง กระบอกนะครับ     #สถาบันรับรองและตรวจสอบวัตถุมงคลประเทศไทย เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ ชั้น 1 (เปิดบริการทุกวัน)<br /> เวลา 11.00 น. - 20.00 น. ติดต่อ 02-1938223-4 / 065-5824972         #ป๋องสุพรรณการันตี <br />         #สถาบันรับรองและตรวจสอบวัตถุมงคลประเทศไทย<br />         #ใบรับรองพระแท้ <br />         #ออกใบรับรองพระแท้ <br />         #ใบรับรองพระ<br />         #ตรวจสอบพระ <br />         #ตรวจสอบวัตถุมงคล

  อัพเดต: 25/06/2020

  อ่าน:  16,917  คน