ประวัติและความเป็นมา "พระหลวงปู่เผือก พิมพ์ขุดสระเล็ก วัดกิ่งแก้ว"
"พระหลวงปู่เผือก พิมพ์ขุดสระเล็ก วัดกิ่งแก้ว" วัตถุมงคลของหลวงปู่เผือกมีมากมาย แต่ที่เรียกได้ว่าเป็นยอดนิยมและเป็นที่นิยมสะสมมากที่สุดเห็นจะเป็น พระหลวงปู่เผือก รุ่นขุดสระ หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว เป็นพระเกจิที่มีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวจังหวัดสมุทรปราการและพุทธศาสนิกชนทั่วไป ท่านได้พัฒนาและปรับปรุงวัดกิ่งแก้วให้เจริญรุ่งเรืองและมีชื่อเสียงมาจนถึงปัจจุบัน และยังพัฒนาด้านการศึกษาทั้งในส่วนของพระภิกษุสามเณรและกุลบุตรกุลธิดา โดยสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมและโรงเรียนประชาบาล และจัดหาครูมาทำการอบรมสั่งสอนอีกด้วย วัตถุมงคลของท่านยังคงได้รับความนิยมและแสวงหาอย่างสูงมาจนถึงปัจจุบัน พระหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว พิมพ์ขุดสระเล็ก ปี 2460 พระครูกรุณาวิหารี หรื อที่รู้จักกันในนามหลวงพ่อเผือก เป็นชาวสมุทรปราการโดยกำเนิด เกิดที่บ้านคลองสำโรง ต.บางพลี เมื่อปี พ.ศ.2412 อายุได้ 13 ปีเข้าเรียนหนังสือกับพระอาจารย์อิ่ม อินทสโร ที่วัดกิ่งแก้ว ต.ราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ จนอายุครบ 15 ปีก็กลับมาช่วยบิดามารดาทำนาทำสวน อายุ 18 ปี ถูกเกณฑ์เข้าเป็นทหารเรืออยู่ 2 ปี และเมื่ออายุครบอุปสมบท จึงอุปสมบทที่วัดกิ่งแก้ว ได้รับฉายา “ปัญญาธโร” ท่านใฝ่ใจศึกษาภาษาไทยเพิ่มเติมจนแตกฉาน แล้วเริ่มศึกษาพระธรรมวินัย อักขระตัวขอม และปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยพระอาจารย์อิ่ม อินทรสโร เจ้าอาวาสวัดกิ่งแก้ว เป็นผู้อบรมสั่งสอน เมื่อพระอาจารย์อิ่ม เจ้าอาวาสองค์เดิมมรณภาพลง ที่ประชุมสงฆ์และชาวบ้านต่างก็พร้อมใจกันลงมติให้หลวงปู่เผือกเป็นเจ้าอาวาสต่อ จึงทำหนังสือร้องขอไปทางกรมการศาสนาก็ได้รับตราตั้งเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งขณะนั้นพระภิกษุเผือกมีอายุเพียง 30 ปี เท่านั้น หลังจากได้รับตำแหน่งท่านก็เริ่มทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดกิ่งแก้ว และสร้างถาวรวัตถุเพิ่มเติม อาทิ พระอุโบสถ พระพุทธชินราชจำลอง พระวิหาร ศาลาการเปรียญ เป็นต้น ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านทั้งด้านกำลังทรัพย์และแรงงาน จนวัดกิ่งแก้วสมบูรณ์และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของสาธุชนทั่วไป ท่านได้สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมขึ้นเป็นที่ศึกษาของพระภิกษุสามเณร โดยท่านลงมือสั่งสอนเอง และว่าจ้างครูบาอาจารย์ที่มีความรู้จากกรุงเทพฯ มาสอน รวมทั้งมุ่งเน้นการปฏิบัติทางวิปัสสนากรรมฐานแก่พระภิกษุ อุบาสก และอุบาสิกา อีกด้วย นอกจากนี้ ท่านยังใส่ใจการศึกษาของกุลบุตรกุลธิดาแถบนั้นโดยจัดสร้างโรงเรียนประชาบาลขึ้น ท่านได้รับการแต่งตั้งสมณศักดิ์เรื่อยมาจาก เจ้าคณะตำบลราชาเทวะ, พระสมุห์ฐานานุกรมของเจ้าคณะจังหวัดสมุทรปราการได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูกรุณาวิหารี และเป็นกรรมการสงฆ์ องค์การสาธารณูปการ ใน อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ เป็นสมณศักดิ์สุดท้าย ท่านมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2501 สิริอายุได้ 89 ปี พระหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว พิมพ์ขุดสระเล็ก ปี 2460 วัตถุมงคลของหลวงปู่เผือกมีมากมาย ทั้งพระพิมพ์ พระปิดตา พระสมเด็จ เหรียญ รวมถึงเครื่องรางของขลังต่างๆ ซึ่งก็ล้วนเป็นที่นิยมสะสมของเหล่าลูกศิษย์ลูกหาและพุทธศาสนิกชนโดยถ้วนทั่ว โดยเฉพาะชาวสมุทรปราการ แต่ที่เรียกได้ว่าเป็นยอดนิยมและเป็นที่นิยมสะสมมากที่สุดเห็นจะเป็น “พระหลวงปู่เผือก รุ่นขุดสระ” มีที่มาที่ไปที่น่าสนใจทีเดียว พระหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว พิมพ์ขุดสระใหญ่ ปี 2460 มีเรื่องเล่าขานกันต่อๆ มาว่า มูลเหตุของการจัดสร้าง “พระหลวงปู่เผือก รุ่นขุดสระ” นี้ เนื่องจากบริเวณวัดกิ่งแก้วแต่เดิมนั้นเป็นที่ราบลุ่ม แวดล้อมไปด้วยคูคลองที่มีสวนล้อมรอบ เวลาฝนตกลงมาน้ำก็จะขัง ประกอบกับหลวงปู่เผือกดำริจะสร้างโบสถ์ ท่านจึงขอแรงจากบรรดาลูกศิษย์และชาวบ้านละแวกนั้นให้มาช่วยกันขุดดินนำไปถมในที่ลุ่ม และปรับพื้นที่ที่จะสร้างโบสถ์ ส่วนพื้นที่ที่ถูกขุดดินก็เป็นบ่อเป็นสระใหญ่สำหรับเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ซึ่งมีให้เห็นอยู่จวบจนปัจจุบันนี้ พระหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว พิมพ์สามเหลี่ยมแจกแม่ครัว ปี 2460 หน้า ในการนี้ หลวงปู่เผือก จึงจัดสร้าง “พระหลวงปู่เผือก รุ่นขุดสระ” ขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์และสินน้ำใจสำหรับบรรดาลูกศิษย์ลูกหาและชาวบ้านที่มีน้ำใจมาร่วมแรงกันช่วยเหลืองานจนประสบผลสำเร็จ โดยทางวัดไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลย พระหลวงปู่เผือก รุ่นขุดสระ จัดสร้างขึ้นเป็นหลายเนื้อหลายพิมพ์ทรง อาทิ เนื้อผง เนื้อว่าน เนื้อชินตะกั่ว ฯลฯ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก พิมพ์สามเหลี่ยม และพระปิดตา เป็นต้น ผู้ใดมีไว้สักการบูชา ไม่ว่าพิมพ์ไหน ทรงไหน ก็ถือเป็นสิริมงคลทั้งสิ้น พระหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว พิมพ์สามเหลี่ยมแจกแม่ครัว ปี 2460 หลัง เนื้อหามวลสาร พระหลวงปู่เผือก รุ่นขุดสระ เป็นพระเนื้อผงพุทธคุณ และมวลสารศักดิ์สิทธิ์ วรรณะขาวอมเหลืองมีคราบสีน้ำตาลจับ ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ประการหนึ่ง องค์พระมีเนื้อจัดจ้านแบบวัดระฆัง บางองค์เนื้อเหมือนกับพระสมเด็จวัดระฆังมาก เพราะได้พระสมเด็จวัดระฆัง ที่ หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา มอบให้เป็นส่วนผสมด้วย พระหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว พิมพ์สามเหลี่ยมแจกแม่ครัว ปี 2460 พุทธลักษณะพิมพ์ทรง พระหลวงปู่เผือก รุ่นขุดสระ มีด้วยกัน 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่, พิมพ์เล็ก และพิมพ์สามเหลี่ยม หรือพิมพ์แจกแม่ครัว โดย พิมพ์ใหญ่’ กว้างประมาณ 1.7 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. ‘ พิมพ์เล็ก’ กว้างประมาณ 1.3 ซม. ยาวประมาณ 2.4 ซม. และ ‘พิมพ์สามเหลี่ยม หรือ พิมพ์แจกแม่ครัว’ ลักษณะคล้ายกับขุดสระเล็ก เพียงตัดกรอบพิมพ์ทำเป็นรูปสามเหลี่ยม หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว พุทธคุณ พุทธคุณเหมือนกับ พระสมเด็จวัดระฆัง ทุกประการ เรียกได้ว่า “ครอบจักรวาล” ทั้ง เมตตามหานิยม ค้าขายร่ำรวย โชคลาภ และแคล้วคลาดครับผม #สถาบันรับรองและตรวจสอบวัตถุมงคลประเทศไทย เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ ชั้น 1 (เปิดบริการทุกวัน)<br /> เวลา 11.00 น. - 20.00 น. ติดต่อ 02-1938223-4 / 065-5824972 #ป๋องสุพรรณการันตี <br /> #สถาบันรับรองและตรวจสอบวัตถุมงคลประเทศไทย<br /> #ใบรับรองพระแท้ <br /> #ออกใบรับรองพระแท้ <br /> #ใบรับรองพระ<br /> #ตรวจสอบพระ <br /> #ตรวจสอบวัตถุมงคล
อัพเดต: 09/07/2020
| อ่าน: 13,810 คน
ประวัติและความเป็นมา " เหรียญไพรีพินาศ เนื้อฝาบาตร กะไหล่ทอง บล็อกนิยม รุ่นปี พ.ศ.2495"
31/07/2020
7,160
ประวัติและความเป็นมา "พญาเต่าเรือน รุ่นสุขใจ เนื้อเงิน วัดไร่แตงทอง"
24/07/2020
26,943
ประวัติและความเป็นมา "เหรียญเม็ดแตง หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ พิมพ์ ณ.แตกหนังสือเลยหู"
23/07/2020
49,887
ประวัติและความเป็นมา "พระสมเด็จวัดไชโย รุ่นสร้างเขื่อน พิมพ์ 7 ชั้น ปี พ.ศ.2495 (เนื้อเหลือง)"
04/12/2020
7,177