ประวัติและความเป็นมา "เหรียญหลวงพ่อทวด รุ่นพุฒซ้อน เนื้ออัลปาก้า ปี 2509 (บล็อกนิยม)"

         เหรียญหลวงพ่อทวด รุ่นพุฒซ้อน เนื้ออัลปาก้า ปี2509(บล็อกนิยม)      เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า ในสมัยที่ ท่านพระครูวิสัยโสภณ (พระอาจารย์ทิม ธมฺมธโร) เจ้าอาวาสวัดช้างให้ ขณะที่มีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้จัดสร้าง เหรียญหลวงพ่อทวด เนื้อโลหะนั้น หลายรุ่น ตั้งแต่ปี ๒๕๐๐ เรื่อยมาจนถึงปี ๒๕๑๑ ซึ่งเป็นปีสุดท้าย ที่ท่านได้สร้างเหรียญมานะครับ       เหรียญหลวงพ่อทวด รุ่นปี ๒๕๐๙ หรือที่วงการพระเครื่องเรียกกันว่า เหรียญพุทธซ้อน มากที่สุดเหรียญรุ่นนี้มี ๒ พิมพ์ คือ             ๑.เหรียญพิมพ์ใหญ่ แจกกรรมการ ลักษณะเป็นเหรียญเสมา ขนาดเขื่องกว่าพิมพ์เล็ก ด้านหน้ามีรูปหลวงพ่อทวด นั่งซ้อนทางด้านหลัง พระอาจารย์ทิม ด้านหน้าทั้งซ้าย-ขวา มีอักษรภาษาบาลี ด้านล่างมีอักษร ๒ แถว แถวแรกเขียนว่า หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด  แถวที่ ๒ เขียนว่า ท่านอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ส่วนด้านหลังเหรียญ ใต้ห่วง มีตัวหนังสือว่า สถูปหลวงพ่อทวด ขนาบข้างทั้งซ้ายและขวาด้วยช้าง ๒ เชือก ชูงวงไปยังสถูป โดยมีอักษรภาษาบาลี ขนาบข้างทั้งซ้ายและขวาของสถูป ซึ่งมีองค์พระยืนอยู่ภายในซุ้มประตู ใต้สถูปมีอักษร ๓ แถว แถวแรกเขียนว่า ที่ระลึกแด่ผู้อุปการะ แถวที่ ๒ เขียนว่า งานเดือน ๕ ทุกปี ส่วนแถวที่ ๓ เขียนปีพ.ศ.ที่สร้าง ๒๕๐๙ เหรียญพิมพ์ใหญ่ เป็นเหรียญเนื้ออัลปาก้าเปียกทองทั้งหมด ยังไม่ปรากฏว่ามีเนื้ออื่นๆ           ๒.เหรียญพิมพ์เล็ก เป็นเหรียญเสมาเหมือนกัน ขนาดเท่าเหรียญเสมาทั่วๆ ไป (ซึ่งเล็กกว่าเหรียญเสมาพิมพ์ใหญ่) ด้านหน้ามีรูปหลวงพ่อทวด นั่งซ้อนทางด้านหลังพระอาจารย์ทิม<br />  <br />       ด้านหน้าทั้งซ้าย-ขวา มีตัวอักษรภาษาบาลีเหมือนกับเหรียญพิมพ์ใหญ่ ใต้ห่วงมีตัวหนังสือไทยเขียนว่า หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ใต้รูปพระอาจารย์ทิม มีตัวหนังสือไทยเขียนว่า พระครูวิสัยโสภณ (ทิม)<br />  ส่วนด้านหลังเหรียญ ตรงใต้ห่วง มีหนังสือไทยเขียนว่า สถูปหลวงพ่อทวด แต่ไม่มีรูปช้างขนาบข้าง และมีอักษรบาลี ขนาบข้างทั้งซ้ายและขวาของสถูป ซึ่งมีองค์พระอยู่ภายในซุ้มประตู มีช้าง ๒ เชือกชูงวงชี้ไปยังสถูป ใต้ฐานสถูปมีตัวเลขจารึกปีที่สร้างเหรียญ ๒๕๐๙       เหรียญพิมพ์เล็ก เป็นเหรียญเนื้ออัลปาก้า มี ๒ แบบ คือ เนื้ออัลปาก้าผิวเดิม (วงการเรียกว่าเหรียญเปลือย) และเนื้ออัลปาก้าชุบนิกเกิล<br />      ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ผู้เขียนมีความชอบ เหรียญพุทธซ้อน ปี ๒๕๐๙ เป็นพิเศษ เนื่องจากเป็น เหรียญเดียวเท่านั้น ที่มีองค์ประกอบตามตำนานของ สมเด็จหลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด ซึ่งมีด้วยกัน ๓ องค์ประกอบหลัก ดังนี้     ๑.เหรียญเป็นแบบเสมา ด้านหน้าเหรียญมีรูปหลวงพ่อทวด นั่งซ้อนทางด้านหลังพระอาจารย์ทิม เปรียบเสมือนหลวงพ่อทวดมาประทับเข้าทรงพระอาจารย์ทิม เวลาปลุกเสกพระเครื่องหลวงพ่อทวด ทุกๆ รุ่นที่พระอาจารย์ทิมได้สร้างขึ้น โดยพระอาจารย์ทิมจะบวงสรวงอาราธนาอัญเชิญดวงพระวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ให้มาร่วมพิธีปลุกเสกด้วยทุกครั้งไป      ๒.เป็นเหรียญรุ่นเดียวในบรรดาเหรียญทั้งหมด ที่พระอาจารย์ทิมจัดสร้างขึ้นมา ที่มี สถูปเจดีย์ อันเป็นที่บรรจุอัฐิของสมเด็จหลวงพ่อทวด พร้อมทั้งมีรูป พระยืน ในซุ้มสถูปเจดีย์ ซึ่งสถูปเจดีย์นี้ เปรียญเสมือนเป็นตัวแทนของหลวงพ่อทวด ที่ดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของท่านสถิตอยู่ภายใน      ดังเรื่องเล่าขานมา ที่พระอาจารย์ทิมได้ฝันเห็นหลวงพ่อทวด เดินออกมาจากเขื่อนหลวงพ่อทวด (หรือสถูปเจดีย์) พร้อมทั้งพาพระอาจารย์ทิมไปชี้ให้ดูหลักเขต บอกเขตวิสุงคามสีมา หรืออาณาเขตของวัด เนื่องจากวัดถูกปล่อยให้ร้างมานานนับร้อยปี จึงไม่มีใครทราบอาณาเขตที่แน่นอนของวัดได้ เป็นการแสดงให้เห็นว่า ดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อทวดได้สถิตอยู่ในสถูปเจดีย์นี้ นั่นเอง      ๓.เป็นเหรียญรุ่นที่พระอาจารย์ทิมจัดสร้างขึ้นมา ทั้งพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ มีรูปช้างทั้งด้านหน้า และด้านหลัง พิมพ์เล็ก ด้านหน้ามีรูปช้าง ๒ เชือก และด้านหลังก็มีรูปช้าง ๒ เชือก ส่วนพิมพ์ใหญ่ ด้านหน้ามีรูปช้าง ๒ เชือก ส่วนด้านหลังมีรูปช้าง ๔ เชือก เปรียบเสมือนย้ำเตือนให้รู้ว่า วัดนี้เกิดขึ้นมาได้จากการที่ ช้าง (บอก) ให้      โดย พระยาแก้มดำ เจ้าเมืองไทรบุรี เสี่ยงสัตย์อธิษฐาน ปล่อยช้างอุปการ เพื่อหาชัยภูมิที่ดีสำหรับสร้างเมืองให้น้องสาว ท่านเจ้าเมืองจึงยกพลบริวารเดินตามช้างอุปการไป และช้างได้มาหยุดเดิน ณ ป่าแห่งหนึ่ง (ซึ่งเป็นบริเวณวัดช้างให้ ในปัจจุบัน) เสมือนหนึ่งจะบอกว่า ให้เอาสถานที่แห่งนี้สร้างเมือง แต่น้องสาวไม่ชอบ พระยาแก้มดำ จึงให้สร้างขึ้นเป็นวัดแทนการสร้างเมือง และให้ชื่อว่า วัดช้างให้ นั้นเองครับผม     #สถาบันรับรองและตรวจสอบวัตถุมงคลประเทศไทย เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ ชั้น 1 (เปิดบริการทุกวัน)<br /> เวลา 11.00 น. - 19.00 น. ติดต่อ 02-1938223-4 / 065-5824972         #ป๋องสุพรรณการันตี <br />         #สถาบันรับรองและตรวจสอบวัตถุมงคลประเทศไทย<br />         #ใบรับรองพระแท้ <br />         #ออกใบรับรองพระแท้ <br />         #ใบรับรองพระ<br />         #ตรวจสอบพระ <br />         #ตรวจสอบวัตถุมงคล

  อัพเดต: 29/06/2021

  อ่าน:  510  คน