ประวัติและความเป็นมา "พระสมเด็จวัดไชโย พิมพ์ 6 ชั้น อกตันนิยม"

พระสมเด็จวัดไชโย <br /> พิมพ์ 6 ชั้นอกตันนิยม     พระสมเด็จวัดไชโย <br /> พิมพ์ 6 ชั้น นิยม ถือว่าเป็นพิมพ์ต้นๆที่ทรงคุณค่านิยมกอีกพิมพ์หนึ่งเลยครับ<br /> ซึ่งเป็นอีกพิมพ์หนึ่งที่หายาก สมเด็จวัดไชโย จังหวัดอ่างทอง สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ในสมัยรัชกาลที่4กรุงรัตนโกสินทร์ สร้างขึ้นประมาณปีพ.ศ.2409 ครับ สมเด็จวัดเกศไชโยที่มีความนิยมกันมากมีด้วยกัน7พิมพ์และนอกพิมพ์อีกครับ<br /> พิมพ์ 7 ชั้นนิยม <br /> พิมพ์ 7 ชั้นหูประบ่า<br /> พิมพ์ 6 ชั้นอกตัน <br /> พิมพ์ 6 ชั้นอกตลอด<br /> พิมพ์7ชั้นแขนติ่ง(นักเลงโต)<br /> พิมพ์7กับ6ชั้นไหล่ตรง<br /> พิมพ์7กับ6ชั้น อกวี  พิมพ์5ชั้นพิมพ์3ชั้นและพิมพ์เข่าบ่วง แต่ก็ยังมีพิมพ์อื่นๆอีกหลายพิมพ์ครับ เช่น พิมพ์เข่าบ่วงพิมพ์เจ็ดชั้นต้อ พิมพ์หกชั้นพิมพ์ล้ำ พิมพ์ห้าชั้น พิมพ์สามชั้นฯ แต่พบเจอน้อยครับ         จากบันทึกของพระยาทิพโกษา(สอน โลหะนันทน์)และนายกนก สัชฌุกร ซึ่งได้บันทึกจากการบอกเล่าของพระธรรมถาวร จันทโชติ สามเณรที่ช่วยสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) ตำผงเพื่อสร้างสมเด็จประมาณปีพ.ศ.2409ที่วัดระฆังโฆสิตาราม. พระที่สร้างขึ้นสมัยนั้นมีทั้งพิมพ์สามชั้นและเจ็ดชั้น ส่วนพิมพ์เจ็ดชั้นทำไปบรรจุไว้ที่วัดเกศไชโย จังหวัดอ่างทองครับ นอกจากนี้ พระยาทิพโกษา ได้บันทึกไว้ว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)สร้างพระเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับโยมมารดาที่มีชื่อว่า เกศ และตามีชื่อว่า ไช พระสมเด็จจึงถูกขนานนามตามชื่อวัดว่า สมเด็จวัดเกศไชโยครับ        สมเด็จพระพุฒาจารย์ ท่านสร้างพระสมเด็จไชโยนี้ที่วัดระฆังโฆสิตารามแล้วนำมาแจกและบรรจุไว้ในกรุวัดไชโยวรวิหารนี้ ในคราวที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้มาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่หรือพระมหาพุทธพิมพ์ที่วัดนี้นั้นเองครับ ผมขอให้ท่านและครอบครัว จงมีแต่ความสุขสมหวังทุกสิ่งที่ต้องการเลยนะครับ<br />      โดย “ป๋อง สุพรรณ การันตี     #สถาบันรับรองและตรวจสอบวัตถุมงคลประเทศไทย เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ ชั้น 1 (เปิดบริการทุกวัน)<br /> เวลา 11.00 น. - 19.00 น. ติดต่อ 02-1938223-4 / 065-5824972         #ป๋องสุพรรณการันตี <br />         #สถาบันรับรองและตรวจสอบวัตถุมงคลประเทศไทย<br />         #ใบรับรองพระแท้ <br />         #ออกใบรับรองพระแท้ <br />         #ใบรับรองพระ<br />         #ตรวจสอบพระ <br />         #ตรวจสอบวัตถุมงคล

  อัพเดต: 29/06/2021

  อ่าน:  586  คน