ประวัติและความเป็นมา "พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม"

            พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง พิมพ์หัวบานเย็น เนื้อผงพุทธคุณ<br />  พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยมวัดหนังธนบุรีกรุงเทพฯมีการจัดสร้างหลายพิมพ์อาทิพระปิดตานะหัวเข่า, พระปิดตาพิมพ์หัวบานเย็น, พระปิดตาพิมพ์ข้าวตอกแตกฯลฯ <br />             สำหรับ พระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็นหลวงปู่เอี่ยมจะปลูกต้นบานเย็นไว้ที่กุฏิของท่านและก็จะทำน้ำมนต์รดน้ำของท่านทุกวันโดยจะบริกรรมคาถาขณะรดน้ำให้หัวบานเย็นทุกวันมิได้ขาดพอได้ฤกษ์งามยามดีท่านก็จะขุดนำหัวของต้นบานเย็นที่ท่านได้ปลูกไว้นำมาตากแห้งและบดจนละเอียดนำผสมกับผงพุทธคุณที่ท่านทำไว้จากนั้นจึงนำมาสร้างเป็นองค์พระปิดตา           <br />             พระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็นนี้เรียกว่าดีตั้งแต่การปลูกต้นบานเย็นแล้วและยังนำมาผสมกับผงพุทธคุณที่หลวงปู่ทำไว้เมื่อทำเป็นองค์พระเสร็จแล้วหลวงปู่ก็ยังปลุกเสกอีกทีหนึ่งด้วยก่อนที่จะแจกให้แก่ศิษย์และญาติโยมที่ใกล้ชิด            <br />             พระเครื่อง และวัตถุมงคลของหลวงปู่เอี่ยม โดยส่วนใหญ่ท่านจะลงด้วยพระคาถาอักขระยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้า เป็นอักขระยันต์ชั้นสูง มีอำนาจคุณวิเศษยิ่ง มีอานุภาพครอบจักรวาล <br />             สำหรับพุทธคุณของวัตถุมงคลของหลวงปู่เอี่ยมนั้น เด่นเป็นเลิศในด้าน แคล้วคลาด, คงกระพัน, ชาตรี, เมตตา, โชคลาภ, มหาอุตม์, คุ้มครองป้องกันอันตราย ได้อย่างแน่นอน<br />  <br />             “พระภาวนาโกศลเถระ” หรือ “หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง” ท่านเกิดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ปี พ.ศ.2375<br />             หลวงปู่เอี่ยม อุปสมบทที่ วัดราชโอรส เมื่อ ปี พ.ศ.2397 โดยมีพระสุธรรมเทพเถระ (เกิด) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมเจดีย์ (จีน) กับพระภาวนาโกศลเถระ (รอด) เป็นพระคู่สวด<br /> เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดนางนองกับพระภาวนาโกศล (รอด) ศึกษาวิปัสสนาธุระและพุทธาคมกับหลวงปู่รอด หลวงปู่เอี่ยมก็ได้ติดตามหลวงปู่รอดมาจำพรรษาที่วัดโคนอน และศึกษาวิปัสสนาธุระและพุทธาคมกับหลวงปู่รอด จวบจนหลวงปู่รอดมรณภาพลง <br /> ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศน์ ช่วยคัดเลือกหาผู้ที่มีความสามารถเหมาะสมมาปกครองวัดหนัง สมเด็จพระวันรัตได้เลือกหลวงปู่เอี่ยมให้มาเป็นเจ้าอาวาส วัดหนัง ใน ปี พ.ศ.2441 <br /> และต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระภาวนาโกศลเถระ<br /> และได้รับพระราชทานพัดยศงาสานฝ่ายวิปัสสนาธุระ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลวงปู่เอี่ยมท่านได้ถึงแก่มรณภาพด้วยโรคชราเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2469 สิริอายุ 93 ปี 71 พรรษา ครองวัดหนังนานถึง 27 ปี     #สถาบันรับรองและตรวจสอบวัตถุมงคลประเทศไทย เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ ชั้น 1 (เปิดบริการทุกวัน)  เวลา 11.00 น. - 20.00 น.  ติดต่อ 02-1938223-4 / 065-5824972

  อัพเดต: 24/12/2019

  อ่าน:  17,679  คน