
ประวัติและความเป็นมา "เหรียญหลวงพ่อจง 7 รอบ หลังตัวหนังสือ"
เหรียญหลวงพ่อจง 7รอบ หลังตัวหนังสือวัดหน้าต่างนอก ปี 2499
ในปี 2499 ซึ่งเป็นปีที่หลวงพ่อจง มีอายุครบ 7 รอบพอดี เป็นเวลาพอดีกับที่อาคารเรียนหลังเก่าของวัดน่าต่างใน(จงนิลอุปถัมภ์)ได้ ชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก หลวงพ่อนิลซึ่งได้มาครองเป็นเจ้าอาวาสวัดน่าต่างในแล้วจึงได้ปรึกษากับคณะ กรรมการวัดและนายอุทัย ศุขมณี ครูใหญ่โรงเรียนวัดน่าต่างใน(จงนิลอุปถัมภ์)ในสมัยนั้นว่าในโอกาสที่จะทำบุญ อายุครบ7รอบของหลวงพ่อจงนั้น สมควรที่จะจัดสร้างเหรียญที่ระลึกออกให้ประชาชนได้เช่าบูชา เพื่อจะได้นำเงินที่ได้จากการทำบุญมาใช้ในการก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ เมื่อทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน นายอุทัย ศุขมณี จึงได้นำเรื่องนี้เสนอไปยังนายวิชัย ธารีไทย ศึกษาธิการอำเภอบางไทรในขณะนั้น นายวิชัยก็เห็นด้วย เพราะเป็นการประหยัดงบประมาณของทางราชการจึงได้มอบหมายให้นาย วิศิษฎ์ จีระวุฒิ ข้าราชการประจำแผนกศึกษาธิการอำเภอ ซึ่งเป็นคนบ้านหน้าไม้ ไปจัดการเรื่องการสร้างเหรียญที่ระลึก นายวิศิษฏ์จึงได้ร่วมกับนายสวัสดิ์ ธาระเขตร์ ซึ่งเป็นกรรมการวัดคนหนึ่งจัดการเรื่องการออกแบบเหรียญและรายละเอียดเป็นที่ ถูกใจแล้วนายสวัสดิ์ก็รับไปดำเนินการจัดสร้างต่อไป เมื่อกำหนดแบบเรียบร้อยแล้วก็ได้นำความขึ้นปรึกษากับหลวงพ่อจงว่า
"เหรียญที่จะสร้างขึ้นเพื่อสมนาคุณผู้บริจาคทรัพย์ในการก่อสร้างโรงเรียนนั้นจะใช้เป็นรูปหลวงพ่อครึ่งองค์ห่มจีวรคลุมบ่า"
"จ่ะ" หลวงพ่อท่านตอบสั้นๆ "แล้วเหนือศรีษะของหลวงพ่อยังมีที่ว่างเหลืออยู่ จะใส่อักขระอะไรดีเล่าขอรับ" นายวิศิษฏ์ ถามต่อ "ตัว นะ ซิเขาดี" หลวงพ่อตอบ "ด้านล่างของหลวงพ่อเล่าขอรับ" นายวิศิษฏ์ ถามต่อ
" ใช้คาถาหัวใจพระสูตร หัวใจพระธรรมเจ็ดคัมภีร์ และหัวใจพระวินัย นั่นแหล่ะดี " หลวงพ่อบอกกับอาจารย์วิศิษฏ์ อย่างนั้น
อาจารย์วิศิษฎ์ จึงได้นำพระคาถาที่หลวงพ่อบอกให้ใส่ไว้ด้านหน้าเหรียญรุ่นปี 2499 ที่ส้างขึ้นใหม่ ดังนี้
แถวที่ 1 " ทิ มะ สัง อัง ขุ " คือหัวใจพระสูตร
แถวที่ 2 " สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ " คือหัวใจพระธรรมเจ็ดคัมภีร์
แถวที่ 3 " อา ปา มะ จุ ปะ " คือหัวใจพระวินัย
ส่วนด้านหลังมีอักษรไทยเขียนว่า " ที่ระฤก ในงานบำเพ็ญพระกุศล ครบ ๗ รอบ ๒๔๙๙ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก " ซึ่งต่อมานิยมเรียกเหรียญรุ่นนี้ว่า " รุ่น ๒๔๙๙ หลังตัวหนังสือ "
.... โดยจัดสร้างเป็นเนื้อเงิน 500 เหรียญ และเนื้อทองแดง 5000 เหรียญ สำหรับเหรียญเนื้อทองแดงส่วนมากจะเป็นห่วงเชื่อม จะมีห่วงไม่เชื่อมบ้างก็เป็นส่วนน้อย
#สถาบันรับรองและตรวจสอบวัตถุมงคลประเทศไทย เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ ชั้น 1 (เปิดบริการทุกวัน)
เวลา 11.00 น. - 20.00 น. ติดต่อ 02-1938223-4 / 065-5824972
อัพเดต: 27/12/2019
| อ่าน: 7,076 คน
เหรียญหลวงพ่อโอภาสี พิมพ์ ป.ใหญ่ นิยม รุ่นแรก ปี2495
22/12/2022
2,755
ประวัติและความเป็นมา "พระปิดตาหลวงปู่จีน พิมพ์กลีบบัวเศียรมน วัดท่าลาดเหนือ"
02/07/2020
10,144
ประวัติและความเป็นมา "พระสมเด็จหลวงปู่ภู พิมพ์แซยิด แขนหักศอก"
05/11/2020
13,095
หลวงปู่ทวด พิมพ์หลังเตารีดใหญ่ บล็อกแตก(นิยม) ปั้มซ้ำ เนื้อโลหะผสม วัดช้างให้ ปี พ.ศ.2505
31/07/2024
499