ประวัติและความเป็นมา "เหรียญหล่อพระประจำวัน ปางป่าเลไลย์ วันพุธ กลางคืน เจ้าคุณศรี(สนธ์) วัดสุทัศน์ พ.ศ. 2493-94"

         เหรียญหล่อพระประจำวัน ปางป่าเลไลย์ วันพุธ กลางคืน เจ้าคุณศรี(สนธ์) วัดสุทัศน์ พ.ศ. 2493-94      เป็นพระชุดพระหล่อประจำวัน ของท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี(สนธิ์)แห่งวัดสุทัศน์เทพวราราม ผู้เป็นศิษย์เอกแห่ง สมเด็จพระสังฆราช(แพ)แห่งวัดสุทัศน์ ท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์)เป็นผู้สืบทองสรรพวิทยาการในการสร้าง พระโลหะ ทั้งพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ ตลอดจนสูตรการผสมโลหะ ให้ครบถ้วนถูกต้องตามตำรา      ซึ่งตอนนี้ พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ ของทั้งอาจารย์และศิษย์ เอกท่านนี้ หากไม่นับพระกริ่งปวเรศ ของพระมหาสมเจ้ากรมพระยาปวเรศวิทยาลงกรณ์แล้วละก็ ทั้งพระกริ่ง และ พระชัยวัฒน์ของสายวัดสุทัศน์ ถือว่าได้รับความนิยมสูงสุด ทั้งราคาและ พิธีกรรมในการสร้าง พระชุดนี้สมัยก่อนถือว่าเป็นชุดของดีราคาถูกของเนื้อโลหะ ของสายวัดสุทัศน์      นอกเหนือจากชุดเนื้อผง อันประกอบไปด้วย พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ครึ่งซีก และพระสังกัจจายน์ เนื้อผง ปัจจุบันพระชุดนี้ค่อนข้างหายาก โดยเฉพาะบางพิมพ์เช่น พิมพ์ป่าเลไลย์ และ พิมพ์นาคปรกเป็นต้น      พระชุดนี้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ ปี 2493-94 โดยเป็นเหรียญ เทหล่อด้วยกรรมวิธีโบราณ เบ้าดิน หล่อเป็นช่อชนวน พิมพ์พระจะเป็นพระประจำวัน อันได้แก่             ปางห้ามสมุทร -วันจันทร์<br />             ปางไสยาสน์ - วันอังคาร<br />             ปางยืนอุ้มบาตร - วันพุทธกลางวัน<br />             ปางป่าเลไลย์ - วันพุทธกลางคืน<br />             ปางสมาธิ - วันพฤหัส<br />             ปางรำพึง - วันศุกร์<br />             ปางนาคปรก - วันเสาร์<br />             ปางถวายเนตร - วันอาทิตย์      นอกจากนี้ยังปรากฏพิมพ์พิเศษ เท่าที่เล่นหากันประกอบด้วย พิมพ์พุทธกวัก หรือปางรับผลมะม่วง และปางนั่งอุ้มบาตร ยังมีอีกหนึ่งพิมพ์ ที่มีการเล่นหาแต่ยังไม่แน่ชัด คือ พิมพ์นางกวัก ซึ่งพระชุดนี้มีทั้ง แบบ หลังเรียบ หลังยันต์จม และ หลังยันต์นูน      เนื่องจากการสร้างมีการสร้างขึ้นหลายครั้ง จึงปรากฏพิมพ์หลายพิมพ์ ทั้งที่ปางเดียวกัน มีทั้งขนาด เล็ก ใหญ่ตลอดจนความหนาไม่เท่ากัน กระแสเนื้อหา มีทั้งทองดอกบวบ เหลือง อมเขียว เหลืองอมน้ำตาล แกระแสเนื้อกลับออกพรายเงินในเนื้อ หรือแม้กระทั่งเนื้อตะกั่วเก่าก็เคยพบ แต่ไม่เล่นหากันเป็นสากล เท่ากับเนื้อทองผสม อันเป็นเนื้อมาตรฐาน ส่วนใหญ่ ด้านหลังและด้านข้างจะมีร่องรอยการแต่งด้วยตะไบขนาดเบอร์ใหญ่เพื่อความเรียบร้อย ในรอยตะไบเองจะมีความแห้งของเนื้อโลหะ ไม่มีเหลือบรุ้ง ซอกจะมีคราบเบ้า และ คราบความเก่าในเนื้อหา      ในการจัดสร้างแต่ละครั้ง ท่านเจ้าคุณสรี(สนธิ์)จะเป็นผู้คำนวณ ฤกษ์อันเป็นมงคล พร้อมทั้งนิมนต์พระเกจิฯ ผู้เชี่ยวชาญวิทยาคม ในยุคนั้น เข้าร่วมพิธีพุทธาภเศก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชุดที่เข้าร่วมในพิธีใหญ่ ๆ ทั้งวัดราชบพิตร วัดบวรฯ และวัดสุทัศน์เอง เท่าที่มีหลักฐานยืนยันได้ อาทิ เช่น สมเด็จพระสังฆราช(อยู่)วัดสระเกศ , สมเด็จพระพุทธาจารย์(นวม) วัดอนงคาราม , หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา , หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ , หลวงพ่อ จง วัดหน้าต่างนอก , หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง , หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ฯลฯ และ มีความเป็นไปได้ที่ พระชุดนี้ บางส่วนไปออกที่วัดกลางบางแก้ว ซึ่ง แน่นอน อาจรวมถึง หลวงปู่บุญ แห่งวัดกลางบางแก้วด้วย เนื่องจากหลวงปู่บุญ เคยพำนักที่วัดสุทัศน์ เป็นเวลานาน และมีความสนิทสนม เป็นสหธรรมิกกับท่านเจ้าคุณศรีฯ เป็นอย่างดี รวมถึง หลวงพ่อไพฑูรย์ แห่ง วัดโพธินิมิตร ซึ่งได้มีการสร้างพระหล่อบูชาปางประจำวันใน ปีพ.ศ.2493-94 ซึ่งได้นิมนต์ท่านเจ้าคุณศรี ไปร่วม และเป็นประธานในพิธีด้วยเช่นกันครับ     #สถาบันรับรองและตรวจสอบวัตถุมงคลประเทศไทย เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ ชั้น 1 (เปิดบริการทุกวัน)<br /> เวลา 11.00 น. - 19.00 น. ติดต่อ 02-1938223-4 / 065-5824972         #ป๋องสุพรรณการันตี <br />         #สถาบันรับรองและตรวจสอบวัตถุมงคลประเทศไทย<br />         #ใบรับรองพระแท้ <br />         #ออกใบรับรองพระแท้ <br />         #ใบรับรองพระ<br />         #ตรวจสอบพระ <br />         #ตรวจสอบวัตถุมงคล

  อัพเดต: 20/08/2021

  อ่าน:  5,306  คน