ประวัติและความเป็นมา "เหรียญไพรีพินาศ พิมพ์หน้าพระพุทธ"

     "เหรียญไพรีพินาศ พิมพ์หน้าพระพุทธ เนื้อทองคำ ปี 2495"<br /> พระไพรีพินาศ วัดบวรฯพ.ศ.2495<br />      พระไพรีพินาศเป็นพระพุทธรูปที่มีความสำคัญมากที่สุดองค์หนึ่ง ในประวัติศาสตร์ชาติไทยด้วยเหตุที่มีความเกี่ยวพันกับองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเหตุการณ์สำคัญในขณะทรงผนวช เมื่อต้องทรงเผชิญกับผู้แสดงตนเป็นอริไพรีกับพระองค์<br />      พระไพรีพินาศเป็นพระพุทธรูปหินศิลาขนาดหน้าตัก 1 คืบ 4 นิ้วความสูงตลอดพระรัศมี 1 ศอกประทับนั่งปางประธานพรพุทธลักษณะคล้ายกับปางมารวิชัยแต่หงายพระหัตถ์ขวาขึ้นประทับเหนือฐานบัวบัลลังก์สองชั้นแบบบัวคว่ำบัวหงายครับ<br /> ศิลปกรรมคล้ายกับพระพุทธรูปแบบชวาซึ่งได้รับอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบปาละ พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระนลาฏใหญ่ พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์อมยิ้มน้อยๆ พระกรรณยาวจรดพระอังสา พระเศียรมีขนวดพระเกศาเป็นก้นหอย มีเปลวรัศมีอยู่ด้านบนและมีประภามณฑลอยู่ด้านหลัง พระวรกายอวบล้ำสัน เส้นพระสังฆาฏิมีขนาดสั้นพาดอยู่บนพระอังสาซ้ายครับ โดยรูปลักษณ์ประติมากรรมทำให้แปลความหมายได้ว่า"พระไพรีพินาศเป็นองค์จำลองของพระธยานิพุทธเจ้า"ซึ่งประจำอยู่ทิศใต้ตามความเชื่อในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ประวัติของพระพุทธรูปองค์นี้ มีผู้นำมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในขณะทรงผนวชที่วัดบวรฯ<br />      เมื่อปีพ.ศ. 2391 ซึ่งประจวบกับระหว่างนั้น"หม่อมไกรสร"ได้แสดงเจตนาเป็นอริกับพระองค์ทั้งทั้งที่ทรงอยู่ในสมณะเพศ แต่แล้วหม่อมไกรสรก็มีอันเป็นไปแพ้ภัยตนเองเหมือนสิ้นเสี้ยนหนามศัตรู จึงโปรดให้ตั้งพระนามพระพุทธรูปองนี้ว่าพระไพรีพินาศครับ<br />      และต่อมาในปีฉลูพ.ศ. 2396 ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศล"ผ่องพ้นไพรี"ดังความในประกาศพระราชพิธิจร จะเป็นด้วยอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปองค์นั้นหรือเป็นนิมิตรหมายอันดีก็ตาม หลังจากนั้นไม่นานพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯให้เอาผิดหม่อมไกรสรในข้อหาพยายามซ่องสุมพรรคพวกเพื่อก่อกบฏและให้สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ตามราชประเพณีประหารชีวิตเจ้านายเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2491<br /> เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเสมือนหนึ่ง พระพุทธรูปองค์นั้นแสดงอิทธิปฏิหารช่วยให้พระองค์รอดพ้นไผ่จะไพรีที่มุ่งร้ายพระองค์จึงทรงสถาปนาพระนามพระพุทธรูปว่า"พระไพรีพินาศ"และได้ส่งจารึกพระราชหัตถ์ไว้ใต้ฐานพระ ปัจจุบันพระไพรีพินาศประดิษฐ์ฐานอยู่ภายในวัดบวรนิเวศวิหารหรือในซุ้มปรางค์บนทักษิณชั้นสองของพระเจดีย์ใหญ่ ในปีพ.ศ. 2507 ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ซุ้มปรางค์โดยใส่เหล็กที่ช่องหน้าต่างปิดโมเสคที่ฝาผนัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จปิดทองพระไพรีพินาศเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2508<br />      พ.ศ. 2488 สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าสกลมหาสังฆปริณายกครั้นถึงปีพ.ศ. 2495 สมเด็จพระสังฆราชมีพระชนม์มายุครบ 80 พรรษาบริบูรณ์ในเดือนพฤศจิกายนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวาย<br />      และเมื่อฉลองพระชนมายุผ่านไปแล้วได้มีการประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปปฏิมาเพื่อเป็นฑีฆายุมหามงคลแต่สมเด็จพระสังฆราชเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2496 มีขนาดหน้าตักประมาณ 3 คืบนำขึ้นประดิษฐานที่มุกตะวันออกพระวิหารเก๋งและในโอกาสอันสำคัญมหาฤกษ์นี้  ได้จัดสร้างพระบูชาและพระเครื่องชุดไพรีพินาศ ประกอบด้วย <br />           1 .พระบูชาไพรีพินาศ <br />           2.พระกริ่งไพรีพินาศ พิมพ์บัวเหลี่ยม<br />           3.พระกริ่งไพรีพินาศ พิมพ์บัวแหลม<br />           4.พระชัยวัฒน์ไพรีพินาศ <br />           5.เหรียญพระไพรีพินาศ <br />           6.หม้อน้ำมนต์ <br />      วัตถุมงคลชุดไพรีพินาศที่ได้จัดสร้างในครั้งนั้น พระชุดไพรีพินาศยังเป็นองค์จำลองของพระพุทธรูปที่เปี่ยมด้วยพุทธบารมีอันศักดิ์สิทธ์ เป็นที่เคารพสักการะขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยเฉพาะคำ"พระไพรีพินาศ"ปัจจุบันเป็นที่นิยมบูชาของผู้สนใจในพระเครื่องเป็นอย่างสูงผู้สร้างเป็นถึงสมเด็จพระสังฆราชผู้เป็นประมุขแห่งสงฆ์และนอกเหนือจากความเป็นพระเครื่องที่สร้างในโอกาสมงคลอันสำคัญบริบูรณ์ด้วยพิธีกรรมและพิธีพุทธาภิเษกแล้ว เชื่อกันว่าผู้ที่ได้บูชาจะเปี่ยมด้วยสิริมงคลชีวิตร่มเย็นผาสุกรอดพ้นพิบัติภัยเอาชนะอุปสรรคได้นานาประการ ตลอดจนหมู่อริศัตรูผู้คิดร้ายก็จะพินาศแพ้ภัยไม่สามารถทำอะไรผู้บูชาพระไพรีพินาศได้เลยครับ     #สถาบันรับรองและตรวจสอบวัตถุมงคลประเทศไทย เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ ชั้น 1 (เปิดบริการทุกวัน)<br /> เวลา 11.00 น. - 20.00 น.  ติดต่อ 02-1938223-4 / 065-5824972

  อัพเดต: 28/12/2019

  อ่าน:  10,009  คน