ประวัติและความเป็นมา "รูปหล่อสมเด็จพุฒาจารย์โต รุ่น100ปี วัดระฆังโฆษิตาราม ปีพ.ศ.2515 เนื้อทองคำ"

รูปหล่อสมเด็จพุฒาจารย์โต รุ่น100ปี<br /> วัดระฆังโฆษิตาราม ปีพ.ศ.2515 เนื้อทองคำ ประวัติการจัดสร้างวัตถุมงคล รุ่น 100 ปี แห่งการมรณภาพเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆังโฆษิตาราม ปี 2515ปี พุทธศักราช 2515 ที่จะมาถึงในขณะนั้น อันเป็นปีที่การมรณภาพของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เวียนมาบรรจบครบ 100 ปี ประกอบกับวัดระฆังโฆสิตารามเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งก่อตั้งกรุงรัตน โกสินทร์ ถาวรวัตถุและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมากเกินกำลังของทางวัดที่จะบูรณะปฏิสังขรณ์โดยลำพัง ม.ล.เนื่อง พร สุทัศน์ เห็นว่าเป็นโอกาสอันเหมาะสมที่จะจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อหาทุนในการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุและส่งปลูกสร้างต่าง ๆ ที่ชำรุดทรุดโทรม จึงได้นำโครงการดังกล่าวเสนอต่อพระราชธรรมภาณี รักษาการเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามสมัยนั้น ใช้ชื่อโครงการดังกล่าวว่า โครงการสร้างปูชนียวัตถุเพื่อเป็นอนุสรณ์ครบ 100 ปี แห่งการมรณภาพของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรํงสี) ณ วัดระฆังโฆสิตาราม จังหวัดธนบุรี ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพเรือ พล.ร.อ.จรูญ เฉลิมเตียรณ ผู้บัญชาการทหารเรือขณะนั้นรับผิดชอบเป็นประธานกรรมการดำเนินงาน พระราชธรรมภาณี รักษาการเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม เป็นประธานฝายสงฆ์ พล.ร.ท.อุดม สุทัศน์ ณ อยุธยา เจ้ากรมอู่ทหารเรือในขณะนั้น เป็นประธานกรรมการดำเนินการฝ่ายฆราวาสพิธี ในการจัดสร้างวัตถุมงคล รุ่น อนุสรณ์ 100 ปี แห่งการมรณภาพท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม ประกอบไปด้วยพิธีทั้งทางสงฆ์และพรหมณ์ รวมทั้งสิ้น 3 วาระด้วยกันวาระแรก ประกอบพิธิพุทธาภิเษกทองชนวนและผงมวลสารหมาย กำหนดการวาระแรก วันพฤหัสบดี ที่ 16 กันยายน พ.ศ.2514 พิธีการในส่วนนี้จัดขึ้นตามแบบขนบธรรมเนียมทั้งพิธีสงฆ์ และ พิธีพราหมณ์ มีการประกอบพิธีบวงสรวงอัญเชิญบารมีแห่งเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ทำพิธีบูชาฤกษ์ บูชาเทพยดาวาระที่ 2 ประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธปฏิมาจำลองและรูปเหมือนสมเด็จพุฒาจารย์โตหมายกำหนดการวาระที่ 2 วันเสาร์ ที่ 18 กันยายน พ.ศ.2514 พิธิการในวาระที่สองนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จมาเททองเป็นปฐมฤกษ์ตามกำหนดฤกษ์เวลา 15.35 น. และทรงปลูกต้นจันทน์หน้าหอพระไตรปิฎกด้วยวาระที่ 3 ประกอบพิธิพุทธาภิเษกพระพุทธรูป และวัตถุมงคลต่าง ๆหมาย กำหนดการวาระที่ 3 วันพฤหัสบดี ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2515 อันเป็นวันครบรอบ 100 ปี แห่งการมรณภาพของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี พิธีพุทธาภิเกจัดขึ้นตามขนบประเพณี ทั้งพิธีพราหมณ์และพิธีสงฆ์ ในวาระที่สามนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่ หัว ภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นครั้งที่ 2 เพื่อทรงประกอบพิธีพุทธาภิเษก และทรงวางศิลาฤกษ์โรงเรียนพระปริยัติธรรม ณ วัดระฆังโฆสิตาราม วัตถุมงคลที่จัดสร้างในครั้งนั้นประกอบไปด้วย1.พระพุทธรูปจำลององค์พระประธาน ขนาดบูชา (ออกแบบปั้นโดย นายโต ขำเดช)ขนาด 9" เนื้อนวโลหะ สร้างจำนวน 85 องค์ (ตามอายุสมเด็จโต)ขนาด 9" เนื้อโลหะผสม สร้างจำนวน 515 องค์ (ตามปีพ.ศ. ที่ครบ 100ปี)ขนาด 5" เนื้อโลหะผสม สร้างจำนวน 515 องค์ (ตามปีพ.ศ. ที่ครบ 100ปี)2.พระกริ่งจำลององค์พระประธาน (ออกแบบแกะพิมพ์โดย นายช่างเกษม มงคลเจริญ)เนื้อทองคำ สร้างจำนวน 363 องค์เนื้อนวโลหะ สร้างจำนวน 5,000 องค์เนื้อเงิน ไม่ทราบจำนวน3.รูปเหมือนสมเด็จพุฒาจารย์โต ขนาดบูชา (ออกแบบปั้นโดย อ.สนั่น ศิลากร)ขนาด 9" เนื้อโลหะผสม สร้างจำนวน 515 องค์ (ตามปีพ.ศ. ที่ครบ 100ปี)ขนาด 5" เนื้อโลหะผสม สร้างจำนวน ตามสั่งจอง4.รูปเหมือนลอยองค์สมเด็จพุฒาจารย์โต เนื้อทองคำ สร้าง 528 องค์เนื้อเงิน 1,387 องค์เนื้อนวโลหะ 6,100 องค์5.เหรียญสมเด็จพุฒาจารย์โต (ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ สนั่น ศิลากร)มี 2 ขนาดคือ ขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.4 เซนติเมตร , ขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 เซนติเมตรเนื้อทองคำ ทั้ง 2 ขนาดๆละ 1,000 เหรียญ พิมพ์ใหญ่ หนัก 13 กรัม(ไม่รวมห่วง) , พิมพ์เล็ก หนัก 6 กรัม(ไม่รวมห่วง)เงิน ทั้ง 2 ขนาดๆละ 2,514 เหรียญทองแดง ทั้ง 2 ขนาดๆละ 84,000 เหรียญชุดกรรมการ เนื้อทองคำ ขนาด 4.1 ซม. ทูลเกล้าถวายในหลวงและราชินี , เนื้อทองแดง มีขนาด 7 ซม. และ 4.1 ซม. มอบแก่ผู้มีอุปการะคุณในการช่วยเหลือ ทั้งกำลังทรัพย์และกำลังกาย6.พระผงพิมพ์พระสมเด็จ และ พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จพุฒาจารย์โต (โดย พระครูใบฎีกาโชคชัย และ นายช่างเกษม)จำแนก เป็น 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ทรงนิยม , พิมพ์สมเด็จคะแนน , และ พิมพ์พระรูปเหมือนสมเด็จโต จำนวนพิมพ์ละ 84,000 องค์(เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์)คณาจารย์ร่วมพิธินั่งปรกพุทธาภิเษก วาระแรกพระรักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลย์ไลยก์ จ.สุพรรณบุรีพระโพธิวารคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิตร กรุงเทพฯพระพุทธมนตวราจารย์ (สุพจน์) วัดสุทัศน์ราชวรารามพระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯพระครูวิริยกิตติ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯพระครูโสภณกัลยาณวัตร วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง) วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯพระครูประสาธน์วิทยาคม (นอ) วัดกลาง จ.พระนครศรีอยุธยาพระครูสุตาธิกา (ทองอยู่) วัดหนองพะอง จ.สมุทรสาครพระครูสาทรพัฒนกิจ (ลมูล) วัดเสด็จ จ.ปทุมธานีคณาจารย์ร่วมพิธิใน วาระที่ 3 วันพฤหัสบดี ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2515 พระพิธีเจริญพระพุทธมนต์ในพระอุโบสถสมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพนสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดราชบพิธพระธรรมวโรดม วัดสังเสชวิศยารามพระศาสนโสภณ วัดบวรนิเวศวิหารพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดจักรวรรดิราชาวาสพระพรหมมุนี วัดราชผาติการามพระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดสุทัศนเทพวรารามพระธรรมปัญญาจารย์ วัดโสมนัสวิหารพระธรรมปัญญาบดี วัดสามพระยาพระธรรมปิฎก วัดปทุมคงคาพระพิธีในมณฑลวางศิลาฤกษ์โรงเรียนพระปริยัติธรรมพระธรรมเจดีย์ วัดทองนพคุณพระเทพมุนี วัดอรุณราชรารามพระธรรมวิสุทธาจารย์ วัดพิขัยญาติการามพระเทพวรมุนี วัดพระเชตุพนพระเทพวรเทวี วัดปากน้ำภาษีเจริญพระเทพญาณมุนี วัดราชโอรสารามพระเทพเมธี วัดเศวตฉัตร์พระธรรมมหาวีรานุวัตร์ วัดไตรมิตรพระโสภณวราภรณ์ วัดอรุณราขวรารามพระสังวรกิจโกศล วัดราชสิทธารามพระคณาจารย์ร่วมบริกรรมปลุกเสกวัตถุมงคล รุ่น อนุสรณ์ 100 ปีพระเทพคุณาธาร (เจียม) วัดโสธรวรารามพระราชสิงหวรมุนี (ทรัพย์) วัดสังฆราชาวาสพระราชญาณดิลก (ชิต) วัดเขาเต่าพระราชปัญญาโสภณ (สุข) วัดราชนัดดารามพระโพธิวรคุณ (ฑูรย์) วัดโพธินิมิตพระรักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลย์ไลยก์พระวิบูลเมธาจารย (เก็บ) วัดดอนเจดีย์พระวิบูลย์วชิรธรรม (สว่าง) วัดคฤหบดีสงฆ์พระโสภณธรรมมุนี (พ่วง) วัดศรีโคมคำพระพรหมจักสังวร (พรหมา) วัดพระบาทตากผ้าพระสังวรกิจโกศล (เลิศ) วัดราชสิทธารามพระโสภณวราภรณ์ (เฉลียว) วัดอรุณราชวรารามพระพุทธมนต์วราจารย์ (สุพจน์) วัดสุทัศนเทพวรารามพระศรีสัจจาญาณมุนี (ประหยัด) วัดสุทัศนเทพวรารามพระครูนนทกิจวิมล (ชื่น) วัดตำหนักเหนือพระครูสุตาธิการี (ทองอยู่) วัดหนองพะองพระครูโสภณกัลยาณวัตร (เส่ง) วัดกัลยาณมิตรพระครูวิริยะกิตติ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลีพระครูสาทรพัฒนากิจ (ลมูล) วัดเสด็จพระครูกัลยานุกูล (เฮง) วัดกัลยาณมิตรพระครูรัตนสราธิคุณ ผทอง) วัดสระแก้วพระครูประสาธน์วิทยาคม (นอ) วัดกลางท่าเรือพระครูอุทัยคณารักษ์ (ใหญ่) วัดสระแกพระครูพิพิธวิหารการ (เทียม) วัดกษัตราธิราชพระครูวิมลนวการ (เผ้ง) วัดหน้าพระบรมธาตุพระครูไพศาลวิสุทธิคุณ (สำลี) วัดห้วยยางพระครูพิพัฒน์สิริธร (คง) วัดบ้านสวนพระครูวชิรรังษี (จันทร์) วัดมฤคทายวันพระครูจันทสโรภาส (เที่ยง) วัดม่วงชุมพระครูพิศาลพัฒนกิจ (บุญรอด) วัดประดู่พัฒนารามพระครูประดิษฐ์นวการ (บุณ) วัดวังมะนาวพระครูปิยธรรมภูษิต (คำ) วัดบำรุงธรรมพระครูศรีปริยัตยานุรักษ์ (ไฝ) วัดพันอ้นพระครูธรรมสาคร (กลับ) วัดโกรกกรากพระครูวิจิตรชัยการ (สด) วัดหางน้ำสาครพระครูประสาธนุ์ขันธคุณ (มุม) วัดปราสาทเยอร์เหนือพระครุอาภัสสรคุณ (อารีย์) วัดท้ายชิดพระครุสาธุกิจวิมล (เล็ก) วัดหนองดินแดงพระครูสุวิชงนวรวุฒิ (ปี้) วัดลานหอยพระครูศิลสารสัมบัน (สำรวย) วัดสระแก้วปทุมทองพระครูศรีพรหมโสภิต (แพ) วัดพิกุลทองพระครูภาวนาสังวรคุณ (เต๋) วัดสามง่ามพระครูประสาทวรคุณ (พริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนูพระคครูสมบูรณ์ศีลวัตร (สมบูรณ์) วัดแก่งคอยพระครูพุทธิสังวรกิจ (ทอง) วัดเนรัญชราพระครูวิวัฒน์นครธรรม (ชาย) วัดนครธรรมพระครูศีลคุณวัฒนาทร (โห) วัดพุทธิสารพระครูถาวรธรรมรัตน์ (เที่ยง) วัดเลียบพระครูอุดมเวทวรคุณ (เมือง) วัดท่าแหนพระครูนันทิยคุณ (บุญตัน) วัดเชียงทองพระครูวิรุฬธรรมโกวิท (สิงห์คำ) วัดเจดียสถานพระครูมงคลคุณาทร (คำปัน) วัดหม้อคำตวงพระครูภาวนาภิรัต (อินท์จักร์) วัดวนรามน้ำบ่อหลวงพระครูวิริยะโสภิต (ทอง) วัดพระปรางค์พระครูประกาสสมาธิคุณ (สังเวียน) วัดมหาธาตุพระครูปัญญาโชติวัตร (เจริญ) วัดทองนพคุณพระครุศีลโสภิต (แถม) วัดทองพุ่มพวงพระครูสุวรรณวุฒาจารย์ (มุม) วัดดอนไร่พระครูประภาสธรรมาภรณ์ (ลำยอง) วัดสุนทรประดิษฐ์พระครูนิสัยจริยคุณ (วิสุทธิ์) วัดจันเสนพระครูสมุทรวิจารย์ (จารย์) วัดประชาโฆสิตารามพระครูศีลวิมล (ท้วม) วัดเขาดบสถ์พระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง) วัดจุฬามณีพระครูสุวรรณสุนทร (ทอง) วัดดอกไม้ (ตะกล่ำ)พระครูอินทศิริชัย (ม้วน) วัดไทรพระครูพุทธมัญจาภิบาล (ทองหล่อ) วัดพระแท่นดงรังพระครูอาจารโสภณ (เริ่ม) วัดกลางวังเย็นพระครูโสภณรัตนากร (เพิ่ม) วัดดอนตูมพระครูวิจิตรธรรมรส (สุดใจ) วัดบ้านโป่งพระครูพิทักษ์วิหารกิจ (สา) วัดราชนัดดารามพระครูพิลาสธรรมกิตติ์ (ทวี) วัดโรงช้าง อ.เมือง จ.พิจิตรพระครูสุวรรณประภาส (ทอง) วัดธาตุสว่างพระครูวิจิตรพัฒนาภรณ์ (เจริญ) วัดดอกไม้พระครูอภัยภาดาทร (ขอม) วัดโพธารามพระครูสถิตวุมิคุณ (ปลั่ง) วัดหนองกระทุ่มพระครุสถาพรพุทธมนต์ (สำเนียง) วัดเวฬุวนารามพระครูวิบูลธรรมเวท (เปรื่อง) วัดหิรัญญารามพระครูพิพัฒน์วรคุณ (ชู) วัดลุ่มเจริญศรัทธาพระครูปลัดสงัด (สงัด) วัดพระเชตุพนพระครูรัตนานุรักษ์ (อาจารย์แก้ว) วัดปงสนุกใต้พระครูสุกิจวิริยากร (หมั่น) วัดดงสักพระครูธรรมธรบุญมี วัดท่าสะต๋อยพระปลัดบุญเชิด วัดชมนิมิตพระครูสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาสพระครูวิชัยณรงค์ฤทธิ์ วัดสิตารามพระอาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิพระอาจารย์แดง วัดเขาหลักพระอาจารย์รักษ์ วัดศรีรัตนคีรีวงศ์พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลาพระอาจารย์บุรัชย์ วัดนายพญาพระอาจารย์กี๋ วัดหูช้างพระอาจารย์จันทร์ วัดนามะตูมพระอาจารย์ครูบาวัง วัดบ้านเด่นพระอาจารย์แสน วัดท่าแทนพระอาจารย์คง วัดสันพระรสพระอาจารย์สวน วัดบางกระดานพระอาจารย์ใหญ่ วัดถ้ำใหญ่คูหาสวรรค์พระอาจารย์จำรัส วัดเมืองกายพระอาจารย์เกลี้ยง วัดเขาใหญ่พระอาจารย์โสภาโสภิกขุ วัดเทพนฤมิตคีรีขันธ์พระอาจารย์ลมูล วัดพุทธวงศาพระอาจารย์ชาย วัดสังข์ทองพระอาจารย์ดี วัดศรีสำราญพระอาจารย์หนูอินทร์ วัดพุทธคยาพระอาจารย์ลี วัดป่าบ้านนอกพระอาจารย์คูณ วัดหนองแวงพระอาจารย์สุวรรณ วัดพรหมพระอาจารย์เพ็ชร์ นนฺทเสโน วัดบ้านเด่นพระอาจารย์อุ้ย วัดสังฆราชาพระสุนทรธรรมภาณ (เมตตาหลวง) วัดเทพพิทักษ์ปุณนารามวัตถุมงคลรุ่น ครบ 100 ปี มตกาล สมเด็จโต วัดระฆัง มีพุทธคุณไม่น่ายิ่งหย่อนไปกว่าพระสมเด็จวัดระฆังยุคแรก ด้วยเหตุผลที่น่าสนใจ อันได้แก่1.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ เสด็จฯ มาประกอบพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 25152.มีมวลสารผงเก่าของพระสมเด็จวัดระฆังยุคแรก ที่สมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ปลุกเสก3.เจตนา และวัตถุประสงค์ในการสร้างดีมาก และเป็นพระสมเด็จวัดระฆังเพียงรุ่นเดียวที่สร้างด้วยการกดมือทุกองค์ ตามโบราณ(ไม่ใช่ปั๊มจากโรงงาน)4.หลวง ปู่โต๊ะ ได้มาร่วมพิธีปลุกเสก และได้นิมิตเห็น สมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี มาเวียนประทักษิณา ปะพรมน้ำพระพุทธมนต์ที่ซุ้มตั้งวัตถุมงคลจนครบ 3 รอบ จนเป็นที่ฮือฮาในสมัยนั้นขอขอบคุณที่มาที่ให้ความ

  อัพเดต: 15/11/2021

  อ่าน:  5,674  คน