ประวัติและความเป็นมา "เหรียญ  พญาเต่าเรือน หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง รุ่นปลดหนี้ (รุ่นแรก) ปี 2536 เนื้อทองคำ"

เหรียญ  พญาเต่าเรือน หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง รุ่นปลดหนี้ (รุ่นแรก) ปี 2536 เนื้อทองคำ  เหรียญพญาเต่าเรือน หลวงพ่อหลิว ปณฺณโก วัดไร่แตงทอง จ.นครปฐม รุ่นปลดหนี้ (รุ่นแรก) จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2536<br />          ลักษณะเป็นเหรียญปั้มทรงรูปเต่า หูในตัว ด้านหน้าเหรียญตรงกลางเป็นรูปพระสังกัจจายน์มีอักขระยันต์ล้อมรอบ และมีอักษรภาษาไทยจารึก “หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง รุ่น ปลดหนี้” ด้านหลังเหรียญเป็นอักขระยันต์<br />          จำนวนการสร้างเหรียญพญาเต่าเรือน หลวงพ่อหลิว รุ่นปลดหนี้ (รุ่นแรก)<br /> 1.เนื้อทองคำสร้าง 374 องค์2.เนี้อเงินสร้างจำนวน 2536 องค์3.เนื้อนวโลหะสร้าง 2536 องค์4.เนื้อทองแดงสร้าง 30,000 องค์ทั้งนี้ เนื้อเงิน และเนื้อนวโลหะถูกแบ่งออกไปอยู่ชุดทองคำอีก 374 องค์ <br />          หลวงปู่หลิว เกิดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ปี พ.ศ.2448 ณ บ้านหนองอ้อ ต.บ้านสิงห์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ในตระกูล "แซ่ตั้ง” ของนายเต่งและนางน้อย เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 9 คน ในวัยเด็กขณะที่เพื่อนๆ วิ่งเล่นซุกซนกันตามประสาเด็กนั้น ท่านกลับมองถึงความยากลำบากของครอบครัว จึงช่วยทางบ้านทำงานทำการพร้อมเรียนวิชาช่างไม้จากผู้เป็นบิดาไปด้วยเมื่อโตขึ้นท่านจึงมีความชำนาญทางช่างเป็นเลิศ นอกจากนี้ท่านยังสนใจศึกษาด้านยาสมุนไพรจนกลายเป็นหมอยาประจำหมู่บ้านและละแวกใกล้เคียง แต่แล้วชะตาชีวิตของท่านก็หักเหให้ต้องทิ้งบ้านเกิดเข้าป่าไปเรียนวิชาอาคมกับพระอาจารย์ชาวกะเหรี่ยงอยู่ถึง 3 ปี ก่อนจะกลับมาปราบโจรผู้ร้ายที่รังแกครอบครัวจนพ่ายแพ้ แล้วท่านก็แยกตัวออกมาทำงานของตัวเอง และมีภรรยาชื่อนางหยดมีลูกชายด้วยกันหนึ่งคน<br />          จนอายุได้ 27 ปี ท่านเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส จึงตัดสินใจบรรพชาเป็นพระภิกษุ ณ วัดโบสถ์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี โดยมี หลวงพ่อโพธาภิรมย์ วัดบำรุงเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่ออินทร์ วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์ห่อ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "ปณฺณโก"<br />          จากนั้นกลับไปจำพรรษาที่วัดหนองอ้อ และเดินทางไปศึกษาวิชาอาคมเพิ่มเติมกับอาจารย์ชาวกะเหรี่ยงอีกครั้ง รวมทั้งหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี, พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช และ หลวงพ่ออุ้ม จ.นครสวรรค์ รวมถึงคณาจารย์อีกหลายท่าน<br />          ด้วยความที่หลวงปู่หลิวมีความชำนาญด้านงานช่าง ขณะที่จำพรรษาที่ ‘วัดหนองอ้อ’ เพื่อเรียนพระปริยัติธรรม ท่านก็ต้องไปสร้างศาลาการเปรียญให้‘วัดโคก’ จ.สุพรรณบุรี ต่อมาได้ย้ายไปจำพรรษาที่‘วัดร้าง’ ในหมู่บ้านท่าเสา เพื่อช่วยสร้างกุฏิและโบสถ์จนเสร็จ ในปีพ.ศ.2484 ได้รับนิมนต์ไปช่วยบูรณะ‘วัดสนามแย้’ จ.กาญจนบุรี จนวัดเจริญรุ่งเรือง จากนั้นไปสร้าง‘วัดไทรทองพัฒนา’ขึ้นใหม่ที่ ต.จระเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี โดยในช่วงนั้นท่านได้เก็บสะสมเงินจากการบริจาคของญาติโยมไปสร้าง ‘วัดไร่แตงทอง’ ที่ ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน ซึ่งเป็นบ้านเกิด ก่อนที่จะย้ายมาจำพรรษาและพัฒนาจนเป็นวัดใหญ่โตมีชื่อเสียง<br />             นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างสำนักสงฆ์ประชาสามัคคี อ.บ้าน โป่ง จ.ราชบุรี และสถานีอนามัยบ้านไร่แตงทอง(หลวงปู่หลิว ปัณณโก อุปถัมภ์) เฉลิมพระเกียรติ ปี 2540 จนท้ายสุดกลับมาจำพรรษาที่วัดหนองอ้อในฐานะเพียงพระลูกวัด และมรณภาพลงเมื่อวันจันทร์ที่ 4 กันยายน ปี พ.ศ.2543 สิริอายุ 95 ปี 74 พรรษา

  อัพเดต: 15/11/2021

  อ่าน:  16,919  คน