ประวัติและความเป็นมา "เหรียญเสือเผ่น หลวงพ่อสุด วัดกาหลง เนื้อทองแดง บล็อกนิยมยันต์ตะกร้อ ปี2517"

เหรียญเสือเผ่น หลวงพ่อสุด วัดกาหลง เนื้อทองแดง บล็อกนิยมยันต์ตะกร้อ ปี2517 หลวงพ่อสุด สิริธโร วัดกาหลง สมุทรสาคร<br /> พระเกจิอาจารย์ชื่อดังมหาชัยมีอยู่จำนวนมาก ทั้งที่ละสังขารไปแล้วและยังดำรงขันธ์อยู่<br /> แต่ที่ถูกกล่าวขวัญถึงอย่างมากคือ หลวงพ่อสุด สิริธโร หรือ “พระครูสมุทรธรรมสุนทร” อดีตเจ้าอาวาสวัดกาหลง อ.เมือง จ.สมุทรสาคร<br /> เคยสร้างวัตถุมงคลมากมายที่ได้รับความนิยม อาทิ ยันต์ตะกร้อ ที่มีพุทธคุณด้านอยู่ยงคงกระพัน<br /> อีกทั้งเคยจัดสร้างเหรียญวัตถุมงคลรุ่งหนึ่งที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน คือเหรียญรุ่นเสือเผ่น ในปี พ.ศ.2517 ในโอกาสทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล ครบ 6 รอบ (72 ปี)<br /> ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่กนกข้าง หูในตัว ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนนั่งขัดสมาธิราบเต็มองค์บนอาสนะ ด้านข้างซ้ายและขวาเป็นอักขระยันต์ ด้านล่างเป็นรูป “เสือเผ่น” จารึกวันที่ “๗ พ.ค. ๑๗” ด้านบนจารึกอักษร “ที่ระลึกทำบุญครบ ๖ รอบ พระครูสมุทรธรรมสุนทร (สุด) วัดกาหลง รุ่นพิเศษ”<br /> ด้านหลังเหรียญเป็นอักขระ “ยันต์ตะกร้อ”<br /> มีด้วยกัน 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ A เหรียญปั๊มชุดแรก ไม่มีรอยบล็อกแตก<br /> พิมพ์ B ปั๊มเหรียญจำนวนมากขึ้น บล็อกเริ่มแตกมี 2 ขีดในซอกแขนขวาหลวงพ่อสุด<br /> พิมพ์ C ปั๊มเหรียญจำนวนมาก บล็อกแตกเพิ่มขึ้นอีกจากมุมอาสนะใต้เข่าขวา<br /> เป็นสุดยอดเครื่องรางของขลังที่ขึ้นชื่อและเป็นที่รู้จักกันอย่างมาก ส่งผลให้สนนราคาเช่าหาบูชาขยับขึ้นสูงตามไปด้วย มีนามเดิมว่า สุด สัตย์ตัง เป็นชาว อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2445<br /> บรรพชาเมื่ออายุ 16 ปี ที่วัดกลาง อ.พนมไพร โดยมีพระครูเม้า เป็นพระอุปัชฌาย์<br /> อายุครบ 20 ปี อุปสมบทที่วัดกลาง เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2465<br /> ออกธุดงค์เดินทางรอนแรมจากจังหวัดร้อยเอ็ด รอนแรมไปตามสถานที่ต่างๆ จวบจนมีชาวบ้านที่ตำบลกาหลงนิมนต์ให้จำพรรษาอยู่ที่วัด<br />  <br /> ในห้วงเดินท่องธุดงค์ มีโอกาสร่ำเรียนวิทยาคมจากพระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายท่าน อาทิ หลวงพ่อรุ่ง ติสสโร วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร, หลวงพ่อคง ธัมมโชโต วัดบางกะพ้อม จ.สมุทรสงคราม เป็นต้น<br /> มีความรู้ด้านภาษาลาวและภาษาขอม เข้าใจว่าหลังจากบวชเณรแล้วคงได้เดินธุดงค์อยู่ละแวกอีสานระยะหนึ่งอย่างแน่นอน กว่าจะเดินทางมาถึงจังหวัดสมุทรสาครได้ไม่ใช่เรื่องง่าย<br /> ในยุคนั้นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ของภาคอีสานเดินทางมาแสวงหาความรู้ในกรุงเทพฯ กันมากมาย เช่น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จันทร์ สิริจันโท) เป็นต้น<br /> พระเถระอาวุโสหลายรูปเคยเล่าว่า พระเณรจำนวนไม่ใช่น้อยที่มาตายอยู่ในป่า ด้วยต้องการจะเดินทางมาศึกษาเล่าเรียนในกรุงเทพฯ ผู้ที่ผ่านป่าดงดิบลึกมาได้โดยตลอดปลอดภัยจึงแก่วิทยาคมพอสมควร จำเป็นอย่างยิ่งต่อการเดินผ่านเข้าดงดิบลึกที่มีทั้งไข้ป่า พิษว่าน สัตว์ร้ายนานาชนิด<br /> ผ่านมาจนถึงวัดกาหลงได้นับว่าเป็นยอดหนึ่งเดียวด้านวิทยาคม<br /> ได้รับนิมนต์เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลมากมายหลายพิธีไม่ต่ำกว่า 100 ครั้ง โดยเฉพาะพิธีปลุกเสกพระพุทธ 25 ศตวรรษ<br /> มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วจากการเป็นพระอาจารย์ของตี๋ใหญ่ จอมโจรชื่อดังในอดีต ด้วยร่ำลือกันว่าท่านเป็นคนมอบเครื่องรางของขลังให้ตี๋ใหญ่ ทำให้รอดพ้นแคล้วคลาดจากการถูกเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเข้าจับกุม<br />  <br /> อีกทั้งท่านยังเป็นเกจิต้นตำรับยันต์ตะกร้อ ที่มีพุทธคุณด้านอยู่ยงคงกระพัน<br /> ยันต์ตะกร้อเป็นยันต์ที่จัดทำขึ้นมาด้วยการปลุกเสกลงอาคม โดยใช้ภาษาขอม เขมร และลาว ได้รับความนิยมจากบรรดาสานุศิษย์เป็นอย่างยิ่ง<br /> แต่เดิมเป็นอาจารย์สักยันต์เลื่องชื่อ มีคนนิยมไปสักยันต์มาก ทั้งยันต์เสือเผ่นและยันต์ตะกร้อ ซึ่งผู้ที่ได้รับการสักยันต์จะอยู่ยงคงกระพัน โดยเฉพาะลูกศิษย์ชาวตังเก แต่บางคนประพฤติเป็นโจร ทำให้ยากต่อการปราบปรามโดยตำรวจ ตอนหลังทางการต้องขอร้องให้หลวงพ่อสุดเลิกทำการสักยันต์<br /> หลวงพ่อสุดบอกเล่าเรื่องยันต์ตะกร้อไว้ว่า “ยันต์ตะกร้อทนทานแคล้วคลาด เมื่อตอนเป็นเด็กหลวงพ่อชอบดูการเตะตะกร้อมาก สวยดี ลองเตะบ้างมันเจ็บ ก็ลองคิดดูว่าจะเขียนอักขระยันต์อย่างไรให้งดงามไม่ไปซ้ำของใคร ได้เห็นเด็กๆ เตะตะกร้อเล่นที่ลานวัดกาหลง ก็เลยวาดแบบรอยสานตะกร้อดู พยายามอยู่นานจนได้ดี จุดสำคัญคือสวยงามและตะกร้อนั้นแข็งแรงทนทาน หมายถึงความอดทนแคล้วคลาดของคนเรา โดนเท่าไรก็ไม่เป็นไร ใครเคยเห็นตะกร้อโดนเตะเพียงทีสองทีก็เสียเคยเห็นไหม เห็นมีแต่คนเตะบ่นปวดเท้า ถือเป็นปรัชญาแห่งชีวิตข้อหนึ่งคือความอดทนและมีศิลปะ”<br /> ศิลปะในการออกแบบยันต์ตะกร้อของหลวงพ่อสุด นับว่าสุดยอดทั้งความงดงาม การลากเส้นอักขระขอม ลวดลายของยันต์สง่างามและสวยงามอย่างยิ่ง<br /> ลําดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2490 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี<br /> พ.ศ.2511 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท<br /> พ.ศ.2517 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกในราชทินนามเดิมที่ พระครูสมุทรธรรมสุนทร<br /> มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2526 สิริอายุ 81 ปี

  อัพเดต: 17/11/2021

  อ่าน:  2,518  คน