ประวัติและความเป็นมา "พระนางกำแพง พิมพ์เม็ดมะลื่น"
พระนางกำแพง พิมพ์เม็ดมะลื่น<br /> พระนางกำแพง พระที่ถูกขุดพบที่จังหวัดกำแพงเพชร ส่วนใหญ่ก็จะพบที่บริเวณทุ่งเศรษฐี พระนางกำแพงเพชรเป็นพระที่พบจำนวนมากหน่อย มีมากมายหลายกรุในจังหวัดกำแพงเพชร ทั้งในฝั่งทุ่งเศรษฐี (นครชุม) และฝั่งตัวจังหวัด และยังมีอยู่หลายพิมพ์ และนิยมทุกพิมพ์ทุกกรุครับ พระนางกำแพงเป็นพระที่พุทธลักษณะองค์พระเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย ส่วนใหญ่จะประทับบนฐานเขียงเป็นเส้นตรงๆ พื้นผนังของพระก็เรียบๆ ไม่ปรากฏเส้นซุ้มใดๆ แต่การตัดขอบก็จะมีแตกต่างกันไปหลากหลายแบบ<br /> ส่วนใหญ่ก็จะตัดเป็น รูปทรงสามเหลี่ยม และยังมีแบบที่มีปีก ด้านข้างคล้ายรูปกลีบบัวก็จะเรียกกันว่าพระนางกำแพงกลีบบัว บางองค์ขอบด้านข้างออกมนๆ ปลายค่อนข้างมนบ้าง แหลมบ้าง ก็จะเรียกกันว่าพระนางกำแพงเม็ดมะลื่น<br /> เนื่องจากลักษณะคล้ายเม็ดมะลื่น (เม็ดมะลื่นก็คือเม็ดกระบก) ส่วนที่มีฐานเป็นขีดๆ ก็จะเรียกว่าพระนางกำแพงฐานตาราง ส่วนพระที่พบทางฝั่งตัวจังหวัดกรุหนึ่งพระมีลักษณะเรียวๆ แหลมส่วนใหญ่จะมีสีดำ คล้ายเม็ดมะเคล็ด ก็จะเรียกว่าพระนางกำแพงเม็ดมะเคล็ด ส่วนพระนางกำแพงที่ตัดเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมนั้นก็ยังแยกได้เป็นสองพิมพ์คือ พระนางพญาพิมพ์ลึก และพระนางพญาพิมพ์ตื้น<br /> พระนางกำแพง ถูกขุดพบที่กรุวัดบรมธาตุ วัดพิกุล วัดช้างล้อม และวัดอื่นๆ อีกเกือบทุกกรุในจังหวัดกำแพงเพชร พระที่พบมีทั้งพระเนื้อดินเผา เนื้อชินเงิน เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง (พบน้อยมาก) และพระเนื้อว่าน ทั้งว่านหน้าเงิน ว่านหน้าทอง และเนื้อว่านธรรมดา พระนางกำแพงจะนิยมพระเนื้อดินมากกว่าเนื้ออื่นๆ เนื้อดินของพระในตระกูลกำแพงเพชรนั้นจะมีเอกลักษณ์ที่เป็นพระเนื้อหนึกนุ่ม มีผิวบางๆ ถ้าเป็นพระที่ยังไม่ผ่านการสัมผัส จะมีฝ้านวลกรุจับบางๆ อยู่ตามผิวทั่วไป บางองค์ถูกความชื้นในกรุก็จะปรากฏรารัก (ราดำ) อยู่ประปราย ก็สวยงามไปอีกแบบหนึ่ง ส่วนถ้าเป็นพระที่ถูกใช้สัมผัสเหงื่อไคล จะมีเนื้อที่เป็นมันหนึกนุ่มมากเป็นที่ยอมรับกันว่าพระตระกูลกำแพงเพชรเป็นพระที่มีเนื้อหนึกนุ่มมากเหมือนมะขามเปียก<br /> พระนางกำแพง เป็นพระที่ถูกพบมากที่สุดของพระเครื่องตระกูลกำแพงเพชร จึงทำให้สนนราคานั้นถูกกว่าอื่นๆ ในตระกูลเดียวกัน แต่พุทธศิลปะนั้นก็เป็นเลิศ เป็นศิลปะสุโขทัยสกุลช่างกำแพงเพชร<br /> ซึ่งถูกแยกออกทางวิชาการเป็นหมวดหนึ่งของศิลปะสุโขทัย พระพักตร์ของพระสกุลช่างนี้จะมีขมับกว้างเด่นชัดและค่อยๆ เรียวลงมาถึงคาง แบบรูปไข่ เป็นเอกลักษณ์ของพระสกุลช่างนี้ ลำพระองค์จะมีหัวไหล่กว้าง อกเอวคอดสะโอดสะองอ้อนแอ้น งดงามมาก ศิลปะแบบนี้มีอยู่แต่ในกำแพงเพชรเท่านั้น<br /> พระนางกำแพงในสมัยก่อนถึงจะมีจำนวนมากสักเท่าไรก็ตาม แต่ปัจจุบันก็หาพระแท้ๆ ยากเช่นกันครับ โดยเฉพาะพระที่สวยๆ สมบูรณ์นั้นก็หายาก เนื่องจากรายละเอียดของพระพักตร์ เช่น คิ้ว ตา ปาก จมูก หูเป็นเส้นเรียวเล็กมาก และคุณสมบัติที่เป็นพระเนื้อดินละเอียด และหนึกนุ่มจึงทำให้พระส่วนใหญ่นั้นสึกหรอไปตามกาลเวลา จะหาพระที่มีหน้าตาสวยสมบูรณ์นั้นยากมาก<br /> พุทธคุณของพระนางกำแพงก็เฉกเช่นเดียวกับพระในตระกูลกำแพงอื่นๆ ไม่ผิดเพี้ยน เด่นทางด้านเมตตามหานิยม โชคลาภโภคทรัพย์ เจริญก้าวหน้า คุ้มครองป้องกันภัยต่างๆ พระนางกำแพงถือว่าอยู่ตำนาน ใบลานเงิน เช่นเดียวกับพระซุ้มกอ<br /> ”ใครมีกูแล้วไม่จน”
อัพเดต: 01/12/2021
| อ่าน: 3,938 คน
พระพิฆเนศวร์ วัดสุทัศน์ฯ ปี 2485
09/02/2022
4,309
ประวัติและความเป็นมา "หลวงปู่โต๊ะ เนื้อผงรุ่นแรก พิมพ์ซุ้มประตู (13พิมพ์) วัดประดู่ฉิมพลี"
06/05/2021
9,188
ประวัติและความเป็นมา "พระปิดตา หลวงปู่ทับ วัดทอง พิมพ์ยันต์น่อง เศียรบาตร เนื้อสมฤทธ์"
20/08/2021
1,434
ประวัติและความเป็นมา "รูปเหมือนปั๊ม พิมพ์คอตึง หลวงพ่อเดิม พุทธสโร วัดหนองโพนครสวรรค์"
20/11/2021
2,530