ประวัติและความเป็นมา "พระมเหศวร พิมพ์มเหศวรตรง"
"พระมเหศวร พิมพ์มเหศวรตรง กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ"<br /> นับเป็นพระยอดนิยมอันดับต้นๆ ของจังหวัดสุพรรณบุรี ได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็นหนึ่งใน‘พระยอดขุนพล’ ของเมืองไทย ซึ่งมีการค้นพบเฉพาะ‘กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ’เท่านั้น <br /> กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี<br /> จุดเด่นประการแรกของพระมเหศวรอยู่ที่ “พิมพ์ทรง” ที่ออกจะแปลกแตกต่างไปจากพระพิมพ์อื่นๆ ที่เห็นกันอยู่ทั่วไป ซึ่งต้องยอมรับในภูมิปัญญาไทยสมัยก่อนที่สามารถรังสรรค์ชิ้นงานประติมากรรมด้วยความชาญฉลาด ด้วยปัญหาข้อหนึ่งของพระเนื้อชิน คือส่วนพระศอขององค์พระมักจะบอบบาง ทำให้เปราะและแตกหักง่าย ผู้สร้างจึงแก้โดยเอาส่วนที่เป็นพระศอของพระอีกองค์หนึ่งนั่งสวนทางกัน ดังนั้น ส่วนที่เปราะบางคือพระศอ จึงไปอยู่ในส่วนที่เป็นพระเพลาของพระอีกด้านหนึ่ง สามารถลบล้างในส่วนที่เปราะบางได้อย่างสิ้นเชิงจุดเด่นประการที่สอง คือเรื่อง “ความเข้มขลังด้านพุทธคุณ” เป็นที่เลื่องลือ โดยมีตำนานกล่าวขานกันสืบต่อมาว่า<br /> หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ในแถบภาคกลางของไทย เช่น ชัยนาท อุทัยธานี และสุพรรณบุรี ได้เกิดชุมโจรออกปล้นสะดมชาวบ้านอย่างชุกชุม จนเป็นที่หวาดผวาแก่อาณาประชาราษฎร์ทั่วไป ตกเพลาค่ำคืนต้องคอยระมัดระวังอยู่ยามตามไฟอย่างเข้มงวด ยิ่งตามรอยต่อของทั้ง 3 จังหวัดดังกล่าว จะมีชุมโจรที่น่าเกรงขาม อาทิ เสือฝ้าย และเสือมเหศวร เป็นต้น โดยเฉพาะ "เสือมเหศวร" มีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องอยู่ยงคงกระพัน ยิงฟันไม่เข้า เล่ากันว่าเพราะเสือมเหศวรมีพระเครื่องชั้นดีอยู่องค์หนึ่งที่อาราธนาอยู่บนคอตลอดเวลา เป็นพระเนื้อชิน ประทับนั่งปางมารวิชัย สองหน้า นั่งเอาพระเศียรสวนทางกัน สมัยนั้นเรียกกันว่า "พระสวน" ...<br /> สืบต่อมาจึงเอาชื่อของเสือมเหศวรมาเรียกเป็นชื่อพระพิมพ์ว่า "พระมเหศวร" พระมเหศวรเป็นพระพิมพ์ประเภทเนื้อชินเงินหรือเนื้อชินแข็ง หรือที่เรียกว่า “เนื้อชินกรอบ” มวลสารจะเป็นส่วนผสมของเนื้อดีบุกมากกว่าเนื้อตะกั่ว เนื้อชินชนิดนี้จะมีลักษณะแข็ง เมื่อผ่านกาลเวลา จะทำปฏิกิริยากับอากาศ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่าเกิดสนิม ซึ่งจะกัดกร่อนลงไปในเนื้อมากบ้างน้อยบ้าง เล็กบ้างใหญ่บ้างแล้วแต่ปัจจัยปรุงแต่ง อย่างเช่น ความชื้น ฯลฯ เราเรียกว่า ‘สนิมขุม’นอกจากนี้จะเกิด‘รอยระเบิดแตกปริ’ตามผิวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยจะแตกจากภายในปะทุออกมาข้างนอก สามารถมองเห็นได้อย่างเด่นชัด ใช้เป็นหลักการพิจารณาสำคัญประการหนึ่ง<br /> สำหรับพระมเหศวรบางองค์ที่มีส่วนผสมของเนื้อตะกั่วมากกว่าเนื้อดีบุก ซึ่งเรียกว่า “เนื้อชินอ่อน” นั้น เมื่อกระทบของแข็งจะเกิดเป็นรอยบุ๋มลึก และสามารถโค้งงอได้เล็กน้อย จะมีข้อดีตรงที่ไม่เกิดสนิมขุมรอยกัดกร่อนหรือระเบิดแตกปริ แต่จะเกิดเป็น ‘สนิมไข’ ที่มีลักษณะเป็นแผ่นสีนวลขาว เมื่อใช้ไม้ทิ่มแทงจะค่อยๆ หลุดออก แต่ถ้าทิ้งเอาไว้หรือแขวนคอพอถูกไอเหงื่อก็จะเกิดขึ้นมาอีกภายใน 3-4 วัน ซึ่งต่างจาก “สนิมไขเทียม” แม้จะมีลักษณะเป็นแผ่นเช่นกัน แต่เวลาล้างสนิมไขก็จะหลุดลอกออกหมดและไม่เกิดขึ้นมาใหม่อันเป็นข้อสังเกตสำคัญอีกประการหนึ่ง ทีนี้มาดูที่ผิวขององค์พระ ถ้ายังไม่ได้ถูกใช้หรือสัมผัส ผิวจะเนียนและมีสีออกไปทางดำเอามากๆ แต่ถ้าถูกใช้จนสึกจะเห็นเนื้อในขาวนวลสดใสราวกับสีเงินยวง หรือผิวพระจะเป็นสองชั้น เข้าใจว่าน่าจะมีส่วนผสมของปรอทอยู่มาก ดังภาษาชาวบ้านที่ว่า ‘ตลอดองค์พระมีเสื้อใส่ทับอยู่อีกชั้นหนึ่ง’ ย่อมยืนยันได้ว่า เป็นของแท้แน่นอน พระมเหศวร กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี มีมากมายหลายพิมพ์ทรง สามารถแบ่งแยกเป็นพิมพ์ใหญ่ๆ ได้ 5 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พระมเหศวรสวนเดี่ยว พระมเหศวรสวนตรง ซึ่ง ณ ปัจจุบันเป็นที่นิยมเล่นหากันอย่างกว้างขวางทุกพิมพ์ โดยเฉพาะองค์ที่มีคราบไคลความเก่าปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์เล็กพิมพ์ใหญ่ก็ล้วนแต่มีราคาค่างวดทั้งสิ้น ดังนั้น ต้องใช้การพิจารณาอย่างละเอียดและพิถีพิถัน ทั้งเรื่องเนื้อขององค์พระ ผิวขององค์พระ ปฏิกิริยาต่างๆ ที่เกิดตามอายุและสภาพแวดล้อม กระทั่งพื้นผิวภายนอกก่อนใช้หลังใช้ข้อสำคัญที่ต้องพึงจดจำไว้เสมอ ก็คือ "พระมเหศวร" พบเฉพาะที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี กรุเดียวเท่านั้น จะไม่ปรากฏในกรุอื่นหรือจังหวัดอื่นใดทั้งสิ้นครับผม #สถาบันรับรองและตรวจสอบวัตถุมงคลประเทศไทย เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ ชั้น 1 (เปิดบริการทุกวัน)<br /> เวลา 11.00 น. - 20.00 น. ติดต่อ 02-1938223-4 / 065-5824972
อัพเดต: 03/01/2020
| อ่าน: 21,795 คน