พระเพชรหลีก พิมพ์สมาธิราบ เจ้าคุณทักษิณ คณิศรวัดใต้ (อินทราราม)

พระเพชรหลีก พิมพ์สมาธิราบ เจ้าคุณทักษิณ คณิศรวัดใต้(อินทราราม)<br /> พระเพชรหลีก เป็นพระเครื่องอีกชนิดหนึ่ง ที่มีตำหรับตำราการสร้างโดยเฉพาะ ไม่ใช่ใครจะนึกสร้างก็ทำได้เลย พระเพชรหลีก ของเจ้าคุณทักษิณ วัดใต้ จึงมีอิทธิคุณทางด้านแคล้วคลาดพ้นจากภัยอันตรายต่างๆ จัดอยู่ในพระนิรันตรายอันดับต้นๆ มีมูลค่าการเสาะหาอยู่ที่ประมาณหกหลัก<br /> พระเพชรหลีก เจ้าคุณพระทักษิณคณิศร วัดใต้ หรือ วัดอินทาราม เนื้อผงใบลาน หลังจาร นะโมพุทธายะ <br /> พระเพชรหลีก วัดใต้ มี2 พิมพ์ คือ พิมพ์สมาธิเพชร และพิมพ์สมาธิราบ  พระเพชรหลีก พระเครื่องเก่าแก่ของ วัดใต้ หรือ วัดอินทาราม ฝั่งธนบุรี สร้างโดย เจ้าคุณพระทักษิณคณิศร ท่านเป็นศิษย์ร่วมสำนักกับ สม เด็จพระวันรัต (แดง) และ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสเทโว) ปัจจุบันหาดูหาเช่ายากยิ่ง  ได้รับสมญานามว่า "พระยอดขุนพลนิรันตราย" เนื่องด้วยพุทธคุณเป็นที่ปรากฏเลื่องลือในด้านแคล้วคลาดและอยู่ยงคงกระพัน ความน่าสนใจคือ เนื้อหามวลสารและกรรมวิธีสร้างที่มีความแตกต่างจากพระเครื่องอื่นๆ ครับผม ท่านเจ้าคุณพระทักษิณคณิศรเป็นชาวอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เกิดเมื่อปี พ.ศ.2397 บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 10 ขวบ ร่ำเรียนหนังสือไทยและขอมอยู่ 2 ปี  พออายุได้ 22 ปีจึงอุปสมบทที่วัดราชบูรณะ อำเภออัมพวา ได้ฉายา "ปุญญาคังโค" จำพรรษาที่วัดได้ 2 ปีจึงย้ายมาจำพรรษาที่วัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ ศึกษากับสมเด็จพระวันรัต (แดง) ได้ 1 ปี ก็ได้รับสมณศักดิ์เป็นที่พระมงคลวิลาศ ตำแหน่งพระครูคู่สวดฐานานุกรมในสมเด็จพระวันรัต (แดง)  ในปี พ.ศ.2432 ดำรงเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์นิมิต ฝั่งธนบุรี จนถึงปี พ.ศ. 2447 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดใต้ หรือวัดอินทาราม และสมณศักดิ์สุดท้ายเป็นที่ พระทักษิณคณิศร บวรสังฆสุทธิการ วิจารณโกศล ศกลสังฆานายกปิฎกธรรมรักขิต ตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรี มรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2484 สิริอายุได้ 88 ปี 66 พรรษา พระเพชรหลีกมีลักษณะทรงพิมพ์คล้ายซุ้มตัวกอ ทรงยืด ด้านบนกลมมน ด้านล่างตัดตรง ด้านหน้าขอบยกเป็นเส้นลวดโดยรอบ องค์พระประธานประทับนั่งปางสมาธิ มีทั้งขัดสมาธิราบและขัดสมาธิเพชร มีความนูนเด่นชัด รวมทั้งเส้นอังสะและเส้นสังฆาฏิ พระเกตุ พระศก พระเศียรกลม ปรากฏพระกรรณทั้งสองข้าง ในองค์ที่ติดชัดจะปรากฏพระเนตร พระ นาสิก และพระโอษฐ์ พระกรและพระ พา หาหักเป็นมุมทั้งสองข้าง ส่วนด้านหลังเป็นพื้นเรียบ ปรากฏเฉพาะรอยจาร ท่านเจ้าคุณฯ จะนำผงพุทธคุณต่างๆ อาทิ ผงปถมัง มหา ราช อิทธิเจ ฯลฯ มาผสมรวมกับขี้เถ้าหน้า พระประธาน ผงจากการเผาสมุดข่อยและขมุก (ขี้เถ้าจากใบ ตองตานีที่ใช้ลงพื้นปิดทองร�องชาด) แล้ว ตำจนละเอียดโดยใช้ "รัก" เป็นตัวประ สาน จากนั้นนำมากดลงแม่พิมพ์โดยเทลงประมาณครึ่งองค์ก่อน แล้วนำ "ข้าวเปลือก" วางลง 5 เมล็ด จึงเทมวลสารให้เต็มพิมพ์ พอองค์พระแห้งหมาดๆ ก็จะนำออกมาจารอักขระขอมคำว่า "นะ โม พุท ธา ยะ"  "ข้าวเปลือก" นี่แหละที่มีความพิเศษ เพราะต้องเป็นข้าวเปลือกที่เมื่อผ่านการตำ ฝัด สี และหุงแล้วไม่ยอมสุกหรือแตกหัก คือ หลุดรอดมาถึงมือท่านได้ นี่เป็นความอัศจรรย์ที่ปรากฏเป็นพุทธคุณด้วยคือ "หลุดรอด แคล้วคลาด" และด้วยความยากในการที่จะเก็บสะสมเมล็ดข้าวเปลือกตามคุณลักษณะดังกล่าวข้างต้น กอปรกับกรรมวิธีการสร้างและการจารแต่ละองค์พระด้วยตนเอง ทำให้ "พระเพชรหลีก" ที่สร้างแต่ละครั้งจึงมีจำนวนน้อย  ผู้ที่ได้รับจึงต่างรักเคารพและหวงแหนยิ่งนัก ทำให้หายากและสนนราคาค่อนข้างสูงครับผม

  อัพเดต: 16/06/2022

  อ่าน:  1,193  คน