เหรียญทองพระเจ้ากนิษกะ สลักด้วยภาษากรีก-บักเตรียว่า "กษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งปวง - กนิษกะมหาราช
เหรียญทองพระเจ้ากนิษกะ สลักด้วยภาษากรีก-บักเตรียว่า "กษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งปวง - กนิษกะมหาราช พระเจ้ากนิษกะที่ 1 (สันสกฤต: कनिष्क, Kaniṣka; กรีก-บักเตรีย: ΚΑΝΗϷΚΕ Kanēške; กาโรสตี: 𐨐𐨞𐨁𐨮𐨿𐨐 Ka-ṇi-ṣka;[1] พราหมี: Kā-ṇi-ṣka) หรือ กนิษกะมหาราช เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิกุษาณะ ครองราชตั้งแต่ปี ค.ศ. 127-150 ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดของกุษาณะ[2] พระองค์เป็นที่รู้จักจากผลงานทางการทัพ, การเมือง และทางศาสนา ทรงเป็นผู้สืบราชสกุลจากจักรพรรดิกุชุลา กัทผิเสส ปฐมกษัตริย์ของกุษาณะ ในรัชสมัยของพระเจ้ากนิษกะ จักรวรรดิกุษาณะมีพื้นที่ตั้งแต่เอเชียกลางและคันธาระ ไปถึงปาฏลีบุตรในที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา ราชธานีในรัชสมัยของพระองค์ตั้งอยู่ที่ปุรุษปุระ (ปัจจุบันคือเปศวาร์) ในคันธาระ และมีอีกราชธานีสำคัญอยู่ที่มถุรา มีการขุดพบเหรียญพระเจ้ากนิษกะที่ตริปุรี (ปัจจุบันคือชัพพัลปุระ)[3]<br /> ครองราชย์<br /> ค.ศ. 127-150<br /> ก่อนหน้า<br /> วีมะ กัทผิเสส<br /> ถัดไป<br /> หุวิษกะ<br /> ราชสกุล<br /> ชาห์แห่งกุษาณะ<br /> ราชวงศ์<br /> กุษาณะ<br /> ประสูติ<br /> ปุรุษปุระ (เปศวาร์ในปัจจุบัน)<br /> สวรรคต<br /> ปุรุษปุระ<br /> ศาสนา<br /> ศาสนาพุทธ<br /> การพิชิตดินแดนต่าง ๆ และการอุปถัมภ์ศาสนาพุทธของพระองค์มีส่วนสำคัญมากในการพัฒนาของเส้นทางสายไหมและการเผยแผ่พุทธศาสนานิกายมหายานจากคันธาระ การาโกรัม ไปจนถึงจีน ในราว ค.ศ. 127 พระองค์เปลี่ยนภาษาราชการของจักรวรรดิจากภาษากรีกเป็นภาษาบักเตรีย[4]
อัพเดต: 22/09/2022
| อ่าน: 929 คน
ประวัติและความเป็นมา "พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ เนื้อตะกั่ว"
01/03/2020
21,260
ประวัติและความเป็นมา "พระสมเด็จวัดไชโย พิมพ์ 7 ชั้น แขนติ่ง(นักเลงโต)"
12/06/2020
16,635
ประวัติและความเป็นมา "เหรียญกองพันโคราช เนื้อนวะ หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง พศ.๒๕๑๘"
15/11/2021
3,010
ประวัติและความเป็นมา "พระรอด พิมพ์เล็ก เนื้อเขียวคราบเหลือง กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน"
20/08/2021
451