พระนางพญาเสน่ห์จันทร์

พระนางพญาเสน่ห์จันทร์<br /> เป็นพระเนื้อดินที่สำคัญแห่งเมืองสุโขทัย<br /> พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ เป็นพระเนื้อดินค่อนข้างหยาบ เปราะหักง่ายเพราะเป็นพระพิมพ์ที่บางมาก ศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ ปางมารวิชัย แตกกรุ ในปี พ.ศ.2502 โดยกรมศิลปากรได้ขุดพบที่วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม ซึ่งเป็นชื่อตามศิลาจารึกสุโขทัย<br /> จากนั้นได้ขุดพบที่วัดต้นจันทน์และวัดพญาดำตามลำดับซึ่งก็พบพระพิมพ์นี้   ข้อสังเกตุพระพิมพ์นี้   ส่วนใหญ่จะมีคราบหินปูนจับตามองค์หรือซอกองค์พระ   ขนาดองค์จริงสูงประมาณ 3 ซ.ม. กว้างประมาณ 2.7 ซ.ม.อายุการสร้างราว พุทธศักราช 1939-51 <br /> ต่อมาในปี พ.ศ.2505-06 ทางกรมศิลปากรถึงได้รวบรวมพระพิมพ์นี้ทั้งหมดออกจำหน่ายให้กับประชาชนในราคาองค์ละ 50 บาท นับเป็นราคาที่สูงพอสมควรกับค่าเงิน เมื่อเทียบราคาทองคำบาทละ400 ปัจจุบันด้วยเป็นพระที่พบเห็นได้น้อย   จึงค่อนข้างหายาก  ประวัติผู้สร้างพระนางเสน่ห์จันทน์  “วัดพระศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม” ศตวรรษที่ 19 จากหลักศิลาจารึกสุโขทัย วัดตาเถรขึงหนัง... วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม ชาวบ้านเรียกแต่เดิมว่าวัดตาเถรขึงหนัง ต่อมาได้พบศิลาจารึกที่วัดนี้ปรากฏชื่อเรียกว่า วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม สร้างขึ้นในพุทธศักราช 1946 โดย “พระราชชนนีศรีธรรมราชมาดามหาดิลกรัตนราชนาถกรรโลงแม่” ซึ่งเป็นพระมเหสีของพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า ที่ 2 และเป็นพระราชมารดาของพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าที่ 3 (ไสลือไท) เจ้าเมืองสุโขทัย ได้โปรดให้นิมนต์พระเถระชั้นผู้ใหญ่จากเมืองกำแพงเพชรมาอำนวยการสร้างวัดแห่งนี้ วัดแห่งนี้ ล้อมรอบด้วยคูน้ำเช่นเดียวกับวัดทั่วไปในสุโขทัย รูปแบบของเจดีย์ทรงระฆังซึ่งเป็นเจดีย์ประธานของวัด ได้เปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบทั่วไปของสุโขทัยที่มีฐานเตี้ย แต่เจดีย์วัดศรีพิจิตรฯ ตั้งอยู่บนฐานสูง มีฐานเขียงสี่เหลี่ยมเรียบ 3 ชั้น ต่อด้วยฐานย่อมุมไม้ยี่สิบ แล้วจึงถึงส่วนเรือนธาตุที่เป็นทรงระฆัง ทางด้านตะวันออกของเจดีย์ได้พบ "อัฒจันทร์" คือลายบนพื้นเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งซีก (ครึ่งวงกลม) มีลวดลายเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ซึ่งเป็นอิทธิพลที่ได้รับมาจากศิลปะลังกา “จากการค้นคว้าทำให้ทราบถึงที่มาของการสร้างวัดและพระพิมพ์นางพญาเสน่ห์จันทร์ ตามจารึกอ้างอิง สมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา พุทธศักราช ตั้งแต่ 1939-1951”

  อัพเดต: 29/10/2022

  อ่าน:  1,664  คน