พระขุนแผน พรายคู่พิมพ์ พิมพ์หน้าฤาษี สิบเอก กรุวัดบ้านกร่าง
พระขุนแผน พรายคู่ พิมพ์หน้าฤาษี สิบเอก<br /> กรุวัดบ้านกร่าง <br /> เป็นพระกรุที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของจังหวัดสุพรรณบุรี นับเป็นพระกรุโบราณที่มีอายุการสร้างมาหลายร้อยปี มีความงดงามทางพุทธศิลปะและทรงพุทธคุณเป็นเลิศ จัดเป็นพระยอดนิยมชั้นแนวหน้าของวงการทีเดียว<br /> ผู้สร้าง<br /> เมื่อพิจารณาจากพุทธศิลปะแล้ว บ่งบอกว่าเป็นพระในสมัยอยุธยาตอนกลาง เพราะมีศิลปะที่อ่อนช้อยงดงาม เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ซึ่งโบราณอาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ 2 ประการ ประการแรก คือ พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง นี้ น่าจะเป็นพระพิมพ์ที่สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งเดินทัพมาที่เมืองสุพรรณเพื่อสู้รบกับกองทัพพม่าซึ่งมีพระมหาอุปราชเป็นแม่ทัพใหญ่ จึงทรงสร้างพระเครื่องไว้ที่วัดบ้านกร่าง เพื่อให้ทหารที่ออกรบนำติดตัวไว้เพื่อให้แคล้วคลาดปลอดภัยในการสงคราม เมื่อการสงครามสิ้นสุด เหล่าทหารจึงนำพระทั้งหมดมารวมไว้ที่วัดบ้านกร่างตามเดิม แล้วสร้าง “พระเจดีย์” บรรจุไว้ เนื่องด้วยในสมัยนั้นถือเป็นคติของคนโบราณว่า “พระต้องอยู่ที่วัด” ข้อสันนิษฐานประการที่สอง คือ เนื่องจากมีพระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง พิมพ์หนึ่งซึ่งมีพิมพ์ทรงเดียวกับพระขุนแผนเคลือบ วัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา อันเป็นที่ทราบกันแน่นอนว่าสร้างโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแต่จะผิดกันก็ตรงความประณีตและเนื้อมวลสารโดยกรุวัดบ้านกร่างความประณีตจะด้อยกว่า ซึ่งอาจสืบเนื่องจากเป็นการสร้างในช่วงทำศึกสงครามต้องรีบทำการสร้าง ทำให้วัสดุในการทำและความประณีตหยาบกว่าก็เป็นได้ และถ้าเป็นเช่นนั้น พระขุนแผนกรุวัดบ้านกร่างจะต้องสร้างขึ้นก่อนพระขุนแผนเคลือบกรุวัดใหญ่ชัยมงคลอย่างแน่นอน รวมทั้งพระพิมพ์อื่นๆ ที่แตกกรุออกมาพร้อมกันด้วย<br /> การค้นพบ<br /> พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง มีแตกกรุจากเจดีย์หลังพระวิหารเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมในบริเวณวัดบ้านกร่าง เมื่อราวปี พ.ศ.2447 เล่ากันว่า ตอนที่แตกกรุออกมาใหม่ๆ นั้น พระสงฆ์และชาวบ้านได้นำพระทั้งหมดมากมายหลายพิมพ์ มาวางไว้ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ใกล้วิหาร เด็กวัดในสมัยนั้นได้นำพระที่วางไว้มาเล่นร่อนแข่งขันกันในลำนนํ้าสุพรรณบุรีเป็นที่สนุกสนาน เนื่องจากในสมัยนั้น พระวัดบ้านกร่างยังไม่มีมูลค่าและความนิยม จนเมื่อมีการสืบค้นประวัติความเป็นมา และผู้บูชาปรากฏในพุทธคุณเป็นเลิศ จึงกลายเป็นที่นิยมและแสวงหาสืบมา เนื้อหามวลสาร<br /> พระส่วนใหญ่จะเป็นพระตระกูลขุนแผนพิมพ์ต่างๆ มีจำนวนมากมายนับหมื่นองค์ และเป็นเนื้อเดียวกันหมดคือ เนื้อดินเผาผสมว่านและเกสรดอกไม้นานาชนิด มีทั้งชนิดเนื้อดินหยาบและเนื้อดินละเอียด ที่ดูแล้วว่าเป็นเนื้อดินละเอียดก็ยังหยาบกว่าพระเนื้อดินของกรุอื่นๆ แต่โดยส่วนใหญ่จะเป็นประเภทเนื้อดินหยาบที่มีส่วนผสมของกรวดทรายมาก และมีโพรงอากาศ สำหรับสีสันวรรณะเป็นเหมือนพระเนื้อดินเผาทั่วไป มีทั้งสีแดง สีพิกุล สีเขียว และสีดำ ตามความอ่อนแก่ของความร้อนในขณะเผาไฟ พุทธลักษณะพิมพ์ทรง<br /> เมื่อพระแตกกรุขึ้นมาก็ได้มีผู้แยกแบบแยกพิมพ์ต่างๆ ตามความแตกต่างของพุทธลักษณะ ซึ่งมีจำนวนกว่า 30 พิมพ์ขึ้นไป มีทั้งปางสมาธิและปางมารวิชัย ที่นับว่าเป็นพระยอดนิยมในอันดับต้นๆ ของจังหวัดก็คือ “พระขุนแผน พิมพ์ห้าเหลี่ยม อกใหญ่” และ “พระขุนแผน พิมพ์ทรงพลใหญ่” <br /> นอกจากนี้ยังมี <br /> พระขุนแผน <br /> พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกเล็ก, <br /> พระขุนแผน <br /> พิมพ์ทรงพลเล็ก, <br /> พระขุนแผน <br /> พิมพ์แขนอ่อน, <br /> พระพลายเดี่ยว <br /> พิมพ์หน้าเทวดา, <br /> พระพลายเดี่ยว <br /> พิมพ์หน้าฤาษี, <br /> พิมพ์เถาวัลย์เลื้อย พิมพ์ซุ้มเรือนแก้ว <br /> พิมพ์พระประธาน <br /> พิมพ์ซุ้มประตู <br /> พิมพ์ใบมะยม <br /> พิมพ์ใบพุทรา <br /> พิมพ์ก้างปลา <br /> พิมพ์ซุ้มเหลือบ <br /> ส่วนพระพลายคู่ มีดังนี้<br /> พิมพ์อกครุฑ <br /> พิมพ์หน้ากลม <br /> พิมพ์สองปาง <br /> พิมพ์จัมโบ้ <br /> พิมพ์เทวดา <br /> พิมพ์หน้ามงคล <br /> พิมพ์หน้ายัก เป็นต้น <br /> ซึ่งล้วนแต่มีพุทธคุณเป็นเลิศ มีความงดงามและเป็นที่นิยมในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องลดหลั่นกันไป พุทธคุณ<br /> มีพุทธคุณสูงส่ง ทางด้าน เมตตา มหานิยม มหาเสน่ห์ แคล้วคลาด และ คงกระพันชาตรี เป็นเลิศครับผม
อัพเดต: 22/12/2022
| อ่าน: 3,022 คน