ประวัติและความเป็นมา "พระกริ่งสำเร็จประสงค์ (ตระกูล สำเร็จประสงค์)"

     "พระกริ่งสำเร็จประสงค์ (ตระกูล สำเร็จประสงค์)"<br /> เททองหล่อในพระราชพิธี หล่อพระกริ่งพรหมมุณี สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ในช่วงประมาณราวปี พ.ศ.2458 -2465                : ตามประวัติ ข้อมูลการจัดสร้าง คร่าว ๆ ดังนี้ ...<br />       พระกริ่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ) รุ่นสำเร็จประสงค์ <br /> จัดเป็นพระกริ่งยุคต้นๆของท่าน แถมชื่อรุ่นยังเป็นพระนามมงคลที่ยากจะหาคำใดมาเปรียบเปรยได้ <br />       พระกริ่งรุ่นนี้ได้ถูกจัดสร้างในช่วงที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพรหมมุณี <br /> ระหว่างปี พ.ศ. 2458 - 2465 สมเด็จฯ ทรงโปรดให้มีการเททองหล่อพระกริ่ง และพระชัยวัฒน์ เป็นประจำในวันเพ็ญเดือน 12 <br /> ซึ่งตรงกับวันประสูติของพระองค์ ในยุคนั้น คือรุ่นพรหมมุณี<br />        นายเต็ก สำเร็จประสงค์ เป็นลูกศิษย์ที่มีความใกล้ชิดกับสมเด็จพระสังราช(แพ) มากท่านหนึ่ง โดยประกอบอาชีพ เป็นพ่อค้าผู้นำเข้าเครื่องลายครามและเจ้าของโรงรับจำนำ  <br />        นายเต็ก ได้ทูลขอสร้างพระกริ่ง โดยเทเทองคนละเบ้ากับพระกริ่งขององค์สมเด็จฯ แต่ได้จัดสร้างและปลุกเสกในพิธีเดียวกัน เรียกพระร่วมพิธีรุ่นพรหมมุณี และเป็นพระกริ่งประจำตระกูล สำเร็จประสงค์ พระกริ่งรุ่นสำเร็จประสงค์นั้นได้ใช้ <br /> น้ำทองที่เหลือจากการหล่อพระกริ่งพรหมมุณี มาเทหลอมรวมด้วย อีกทั้ง โลหะชนวนพระพุทธชินราช วัดเบญจมบพิตร <br /> ปรอท อถรรพเวท จ้าวน้ำเงิน เงินพดด้วง  ตรายันต์(สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) และแผ่นยันต์ 108  กับนะปถมัง 14 นะ <br /> สมเด็จพระสังฆราช( แพ) ทรงเมตตาลงเหล็กจาร เลขยันต์ทั้งหมดด้วยพระองค์เอง<br />    สำหรับพระกริ่งรุ่นนี้จำนวนการสร้างน้อยมาก  เข้าใจว่าไม่น่าจะเกินกว่า  1 ช่อ ประมาณ 30 องค์ <br /> พระกริ่งรุ่นนี้ เป็นกริ่งในตัว แบบเดียวกับที่สมเด็จพระสังราช (แพ)สร้าง เพราะว่าใช้ช่างเดียวกันนั่นเอง <br />      พุทธคุณเชื่อได้ว่ามีความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ไม่ต่างจากพระกริ่งทุกรุ่นของสมเด็จพระสังฆราช(แพ)<br />   จัดเป็นพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ในสมเด็จพระสังฆราช(แพ)ที่น่าใช้บูชา และเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง     #สถาบันรับรองและตรวจสอบวัตถุมงคลประเทศไทย เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ ชั้น 1 (เปิดบริการทุกวัน)<br /> เวลา 11.00 น. - 20.00 น.  ติดต่อ 02-1938223-4 / 065-5824972

  อัพเดต: 12/01/2020

  อ่าน:  4,246  คน