พระหูยาน พิมพ์ใหญ่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี

พระหูยาน พิมพ์ใหญ่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี<br /> ประวัติพระหูยาน พระหูยาน ถ้าพูดถึงพระพิมพ์นั่งของเมืองลพบุรีแล้ว อันดับหนึ่งต้องยกให้พระหูยานเมืองลพบุรี ถ้าเป็นพระพิมพ์ยืนอันดับหนึ่งก็ต้องพะร่วงหลังลายผ้า พระหูยานต้นกำเนิดอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แตกกรุออกมาครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเราเรียกว่า “พระกรุเก่า” พระที่แตกออกมาครั้งแรกนั้นจะมีผิวสีดำมีปรอทขาวจับอยู่ตามซอกขององค์พระ เล็กน้อย ถ้าผ่านการใช้ผิวปรอทก็จะหายไป ต่อมาก็มีแตกออกมาบ้างแต่ก็ไม่มากจนกระทั่งปี พ.ศ. 2508 ก็มีแตกกรุออกมาอีกเป็นจำนวนมาก ที่บริเวณเจดีย์องค์เล็กหน้าองค์พระปรางค์ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งเราเรียกกันว่า “กรุใหม่” มีบางท่านสันนิษฐานว่าพระหูยานกรุเก่า กับพระหูยานกรุใหม่นั้นสร้างคนละครั้งคือ กรุเก่าสร้างก่อน กรุใหม่สร้างทีหลัง<br /> แต่กระผมคิดว่า ถ้าพระสร้างกันคนละครั้งนั้น พิมพ์กับตำหนิต่างๆ ของพระจะต้องแตกต่างกันไป แต่นี่เพราะพระกรุเก่ากับกรุใหม่เป็นพระบล๊อคเดียวกันทุกอย่าง และจากสถานที่พบแตกต่างกันได้ บางท่านอาจค้านว่า คงจะนำแม่พิมพ์เก่ามาทำพระใหม่นั้นก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะถ้าแม่พิมพ์พระเป็นเนื้อสัมฤทธิ์แล้วเมื่อทิ้งไว้นานก็จะเกิดสนิมกัด กินจนกร่อน เมื่อนำมาทำใหม่พระก็จะไม่สมบูรณ์ย่อมมีตำหนิตามที่สนิมกินแม่พิมพ์ แต่พระกรุใหม่กลับมีความคมชัด เรียกว่าคมชัดกว่าพระกรุเก่าด้วยซ้ำไป แต่ถ้าแม่พิมพ์เป็นดินหรือวัสดุอื่น ก็จะมีการผุกร่อนตามกาลเวลา จะทำให้องค์พระคมชัดไม่ได้ ถ้าแกะบล๊อคใหม่ขนาดขององค์พระ หรือตำหนิต่างๆก็ต้องเพี้ยนไปกว่าเดินแน่นอน พระหูยานที่แตกกรุออกมานั้น มีด้วยกันหลายพิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่ (เรียกกันว่าพิมพ์ใหญ่หน้ายักษ์)<br />  พิมพ์กลาง <br /> พิมพ์เล็ก <br /> พิมพ์บัวสองชั้น <br /> พิมพ์รัศมีบัวสองชั้น และพิมพ์จิ๋ว<br /> แต่มีน้อยมาก ถ้าพูดถึงด้านพุทธคุณแล้วพระหูยานนั้นโด่งดังมากในด้าน คงกระพันชาตรี ตามแบบฉบับของขอม และด้านเมตตานั้นก็ไม่เป็นรองใคร นอกจากพระหูยาน จะพบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แล้วยังปรากฏว่าพบที่ วัดอินทาราม และที่วัดปืนด้วย แต่เป็นคนละพิมพ์กัน ด้านพุทธคุณนั้นเหมือนกันทุกกรุ อายุของพระหูยานนั้น ประมาณการสร้าง 700 กว่าปี แต่ถ้าเป็นกรุของวัดปืนแล้ว อายุจะน้อยกว่าของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเล็กน้อย ในบรรดาพระเครื่องของเมืองละโว้หรือเมืองลพบุรี ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในอดีตและปัจจุบัน ที่นักนิยมสะสมพระเครื่องทั้งหลายชื่อชอบและประทับใจยิ่งนั้น คงได้แก่พระหูยานและรองลงไปอีกหลายสิบชนิด อาทิเช่น พระร่วง, พระนาคปรก, พระเทริดขนนก, พระซุ้มนครโกษา, พระยอดขุนพลวัดไก่, พระเดี่ยวดำ-เดี่ยวแดง,พระรอดหนองมน, พระร่วงกรุม่วงค่อม, พระกรุถ้ำมหาเถร, พระกรุช่างกล, เหล่านี้เป็นต้น พระประเภทนี้โดยมากมักจะเป็นที่นิยมชมชอบ ของบรรดานักสะสมทั้งหลาย ได้พยายามใฝ่หาไว้ในครอบครอง เพราะปรากฏการณ์ในอดีตที่ผ่านมาในเรื่องอำนาจปาฏิหาริย์ของพระพุทธคุณ เป็นที่เชื่อถือได้ เป็นที่เลื่องลือระบือไกล จนมีชื่อเสียงดังกระฉ่อนไปทั่วทุกสารทิศ ไม่ว่าจะอยู่นอกหรือในแคว้นเดนไกล ลือลั่นดังกระหึ่มก้องไม้รู้หาย พระประเภทดังกล่าวมานี้เป็นที่สนใจของทุกๆ คนมาโดยตลอด ไม่ว่าเจ้านายฝ่ายใดทุกระดับชั้นที่เข้ามารับราชการในเมืองนี้ พอย่างเข้ามาถึง อันดับแรกที่จะพูดก็คือ พระหูยานเมืองลพบุรี กิติศัพท์และพุทธคุณอันสูงส่งเป็นที่โจษขานกันอย่างระเบ็งเซ็งแช่มาแต่อดีต จนกระทั่งปัจจุบันนี้ เสียงลือเสียงเล่าอ้างนั้นคงจะดังกระหึ่มอยู่อย่างนี้ชั่วกัปชั่วกัลป์ พระหูยานมีด้วยกันหลายสิบกรุ<br /> และมีอยู่โดยทั่วไปในพื้นที่ใกล้เคียงกับจังหวัดลพบุรี อาทิเช่น พระหูยานสุพรรณบุรี พระหูยานสรรค์บุรี(ชัยนาท) <br /> พระหูยานราชบูรณะ อยุธยา <br /> พระหูยานสิงห์บุรี <br /> พระหูยานทุ่งยั้ง (อุตรดิตถ์) <br /> พระหูยานสมอปรือเพชรบุรี <br /> พระหูยานที่กล่าวนามจังหวัดเหล่านี้ มีพุทธศิลปและพุทธลักษณะ ส่วนสัดใกล้เคียงกันมาก สำหรับเนื้อันเป็นวัตถุที่นำมาสร้างคงได้แก่ ดีบุกหรือเงิน เนื้อตะกั่ว เนื้อดิน บางกรุมีเนื้อผงปูขาว (หรือที่บางคนเรียกว่าเนื้อหุ้มข้าวก็มี) เหตุที่ยืนยันว่ามีเนื้อผงปูนขาวนั้นเพราะเห็นของแท้มาจริงๆ ยืนยันได้ (กรุถ้ำมหาเถรไงครับ)  เรื่องของความสมบูรณ์แบบหรือเรื่องของสนิมกรุนั้น <br /> แล้วแต่การฝังกรุหรือกรุเสื่อมสภาพหรือไม่เท่านั้น กรุบางกรุอยู่ในชั้นสมบูรณ์ ก็ทำให้พระมีความงามมากไม่ผุกร่อนหรือมีรอยระเบิดเกินไป แต่ถ้ากรุใดถูกเปียกชื้นมาก หรือน้ำท่วมกรุ ไหบรรจุเกิดแตกหรือบุบสลายก็จะทำให้พระภายในกรุชำรุดสูญเสียได้มาก ดังนั้นสภาพพระมักจะไม่เหมือนกัน จะมีเหมือนกันบ้างก็ส่วนน้อยส่วนสนิมกรุนั้นก็เช่นกันถ้าเป็นเนื้อตะกั่ว ก็อาจจะเกิดสนิมแดง ถ้าเป็นเนื้อดีบุก หรือชินก็จะเกิดสนิมขุมจับเกาะแน่นทั่วๆบริเวณองค์พระ ถ้าเป็นเนื้อปูขาวหรือผงขาวฝังกรุนานเข้าก็จะเกิดคราบฟองเต้าหู้ อันหมายถึงว่า น้ำมันส่วนผสมของปูนเช่นตั้งอิ๊ว จะลอยออกนอกเนื้อมาจับอยู่รอบๆองค์พระเกาะแนบแน่น มีสีขาวอมเหลืองบ้างหรือสีอื่นบ้างแล้วแต่สภาพกรุเช่นกัน พระเช่นว่านี้จะมีลักษณะเดียวกับพระกรุวัดใหม่ปากบาง ความเก่าของผิวกรุทำให้เราสามารถเปรียบเทียบและพิสูจน์ได้ว่าเป็นของแท้หรือของเทียม ซึ่งมีลักษณะหรือส่วนที่ใกล้เคียงกันระหว่างพระเนื้อชิน(ดีบุก) เนื้อดิน เนื้อตะกั่ว ถ้าเราเอาทั้ง 3-4 อย่างมาพิจารณาเปรียบเทียบกันแล้วก็จะรู้ได้ไม่ยากนักว่าแท้หรือเทียมเป็นอย่างไร พระหูยานต่างกรุจึงมักจะไม่เหมือนกันในเอกลักษณ์ของแต่ละกรุ แต่ละทรวงทรงหรือลักษณะเล็ก-ใหญ่ ใกล้เคียงกันมาก พระหูยานบางกรุอยู่ในชั้นที่สมบูรณ์แบบ ผิวของชิน (ดีบุก) ยังขาวฝังจับเนื้อแน่นดูคล้ายของใหม่เลยก็มี ต้องดูให้ดีว่าผิวนั้นเป็นมันอยู่หรือเปล่า ถ้าเป็นมันอยู่หรือผิวไม่แห้งสนิทเลยนั้นอาจจะเป็นของเทียมค่อนข้างแน่ ถ้าเป็นของแท้จริงผิวของดีบุกหรือชินจะแลดูผิวขาวนวลแห้งสนิทเหมือนดังปุยเมฆ (แหงมองท้องฟ้า) เปรียบเทียบดู แห้งแบบด้านๆ จะมีส่วนหมองคล้ำของผิวนิดๆ สิ่งสำคัญที่สุดนั้นต้องพิสูจน์ให้ถูกต้องเนื้อถูกต้อง คนลพบุรีเองบางคนคล้องพระหูยานเก๊ก็มีมากมาย ของแท้ถูกนักนิยมสะสมพระเครื่องชาวกรุงหรือผู้มั่งคั่งจังหวัดอื่นๆเช้าไปแทบหมดแล้ว คงเหลืออยู่บ้างเล็กน้อยเท่านั้น พอจะกำหนดตัวคนที่มีได้ พระหูยานเป็นยอดจักรพรรดิของพระเครื่องพิมพ์หนึ่ง เป็นยอดมหาอุตและคงกระพันชาตรี จนกระทั่งมีนักนิยมพระรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ให้สมญานามท่านว่า "ยอดจักรพรรดิแห่งกรุงละโว้" ไม่ว่าจะเป็นอภินิหารปาฏิหาริย์ความศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ และสิ่งมหัศจรรย์ นานับประการอยู่ในองค์พระหูยานทั้งหมดพระอื่นๆก็มีผู้กล่าวขานเป็นรองๆลงไป ความเกรียงไกรและยิ่งใหญ่ของพระหูยาน<br /> มีผู้พูดหลายร้อยหลายพันคน ซ้ำแล้วซ้ำเล่าครั้งแล้วครั้งเล่าว่า พระหูยานนั้นเหนียวชะมัด  ขนาดปืนยังไม่ดังหนังไม่ถลอก ซึ่งเป็นเรื่องที่เล่าติดต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นับเป็นร้อยเป็นพันราย ไม่มีเสื่อมคลาย เหตุนี้เองจึงมีนักสะสมทั้งรุ่นใหม่สนใจหากันอยู่มิได้ขาด และยังจะหากันต่อไปอีกนานเท่านานไม่มีวันจบสิ้น เมืองลพบุรีเป็นเมืองที่มีพระเครื่องมากเมืองหนึ่ง และเป็นพระที่นักนิยมทั้งหลายยอมรับนับถือในคุณค่า ตลอดจนกระทั่งศิลปกรรม อันเป็นโบราณวัตถุที่มีความเก่าแก่มาแล้วช้านานและจัดเป็นพระเครื่องที่มีศิลปสมัยสูงสมัยหนึ่ง นักสะสมหรือนักนิยมพระที่รู้จริงสามารถบอกได้ว่าเป็นพระสมัยลพบุรี ที่บอกได้เพราะเขารู้ศิลปจริง จะมีผิดพลาดบ้างก็เล็กน้อย เว้นไว้แต่ว่าพระที่ลอกเลียนแบบสมัยสูงๆ โดยก๊อปปี้หรือถอดพิมพ์แล้วนำมาทำใหม่ในยุคที่ต่ำกว่า หรือระยะหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างสมัยกัน เป็นเรื่องที่มีปัญหาถกเถียงกันอยู่เสมอ บางคนว่าถึงยุค บางคนบอกว่าไม่ถึงยุคสมัย คนประเภทนี้ไม่รู้ศิลปที่แท้จริง ไม่เคยเรียนศิลปมาก่อน ย่อมจะพูดชนิดบิดเบือนความเป็นจริงอยู่ตลอด คนประเภทนี้ไม่รู้จักศิลปะ และไม่รู้จักวิธีการลอกเลียนแบบอีกด้วย จึงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันเสมอมา (คนที่เรียนศิลปมาจึงจะรู้แจ้ง) พระเครื่องในสมัยอยุธยา มีศิลปลพบุรีก็มี เพราะอยุธยาต้องเลียนแบบมาจากสมัยสูงกว่านั่นเอง หรือในสมัยอยุธยานำเอาพระเครื่องที่มีศิลปสมัยสูงกว่าเช่นลพบุรีนำไปบรรจุยังกรุอยุธยา ก็มีพบกันอยู่บ่อยๆ และเสมอๆ ในสมัยรัตนโกสินทร์ (ปัจจุบันนี้) ก็มีการลอกเลียนแบบสร้างพระทุกสมัยที่เหนือกว่าก็มีมากมี เป็นการสืบทอดเจตนาของช่างผู้สร้างเอาว่าอย่างไหนดีและไม่ดี พระหูยานแต่ละกรุที่ผู้เขียนจำได้และรวบรวมไว้มีประมาณ 21 กรุ ดังนี้คือ 1. พระหูยาน<br /> กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ <br /> (กรุต้นกำเนิดหรือกรุหัวปี) 2440 ลพบุรี 2. พระหูยาน<br /> กรุวัดปืน ลพบุรี 3. พระหูยาน<br /> กรุวิหารกรอ (เนื้อดินบัวคว่ำ-บัวหงาย) 4. พระหูยาน<br /> กรุอินทรา ลพบุรี (ที่ฐานมีรอยตาปูตอกเป็นกรุ) 5. พระหูยาน<br /> กรุตาพริ้ง พิมพ์คอพอก ลพบุรี 6. พระหูยาน<br /> กรุตาอิน ลพบุรี 7. พระหูยาน<br /> กรุถ้ำมหาเถร (พระเกศมาลาแหลม) 8. พระหูยาน<br /> กรุวัดเจาะหู 9. พระหูยาน<br /> กรุยอดพระปรางค์ 10. พระหูยาน<br /> กรุวัดกำแพง เนื้อตะกั่วสนิมแดง (ลำน้ำบางขาม) บ้านหมี่ลพบุรี 11. พระหูยาน<br /> กรุวัดราชบูรณะ (หลังวัดพรหมมาสตร์) ลพบุรี 12. พระหูยาน<br /> กรุวัดราชบูรณะ (อยุธยา) 13. พระหูยานเนื้อดิน สุโขทัย 14. พระหูยาน<br /> กรุน้ำผึ้ง จ.สิงห์บุรี อำเภอบางระจัน 15. พระหูยาน<br /> กรุวัดขื่อคำ สรรค์บุรี (เนื้อตะกั่วสนิมแดง) 16. พระหูยาน <br /> กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี 17. พระหูยาน <br /> กรุสมอปรือ เมืองเพชรบุรี (วัดค้างคาว) 18. พระหูยาน<br /> กรุกรุทุ่งยั้ง อุตรดิตถ์ 19. พระหูยาน<br /> กรุวัดพระธาตุ สรรค์บุรี (บัวพันปลา) หรือวัดศรีษะเมือง ชัยนาท 20. พระหูยาน<br /> กรุวัดสิงหล (เหนือวัดป่าธรรมโสภณ วัดร้าง ชินผุทั้งหมดเห็นแต่รูปร่างเท้านั้น) 21. พระหูยาน<br /> กรุวัดมหาธาตุ อยุธยา พระหูยานที่กล่าวมาทั้งหมดนี้มีรูปลักษณะหรือทรวงทรงใกล้เคียงกันมาก เว้นไว้แต่สิ่งที่ผิดเพี้ยนในเรื่องของแม่พิมพ์หรือจุดสังเกตุในพิมพ์บ้าง (ที่บางคนเรียกว่า "ตำหนิ") พระหูยานมีอยู่ 3 พิมพ์ด้วยกันคือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก ส่วนจะเรียกว่าหน้าพระ หน้านาง หน้าเทวดา หน้ายักษ์ นั้นก็แล้วแต่จะเรียกตามความคิดเห็น ส่วนบัวซึ่งเป็นที่ประทับนั้นมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ บัวคว่ำและบัวหงาย พระที่แตกกรุออกมาครั้งแรกนั้น คนทั้งหลายเรียกว่า "พระหูยานกรุเก่า" พระที่แตกกรุเมื่อปี 2508 คนทั้งหลายเรียกกันว่า "พระหูยานกรุใหม่" ทั้งกรุเก่าและกรุใหม่เป็นพระพิมพ์เดียวกัน การพบพระหูยานนั้นเพราะคนร้ายหลายรุ่น หลายกลุ่ม หลายยุค หลายสมัย ได้ซ่องสุมชุมนุมพลวางแผนกันขุดบางทีได้มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่โอกาสหรือความมากน้อยในแต่ละพระเจดีย์ที่บรรจุ ทางเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรก็พยายามค้นหาหลักฐานเหล่านั้นด้วย และได้ไว้ในพิพิธภัณฑ์บ้างแต่ก็ยังไม่ได้มากเท่ากับคนร้าย ในการลักลอบขุดแต่ละครั้งบางทีก็พบแม่พิมพ์พระชนิดต่างๆ รวมอยู่ด้วย แต่โดยมากเป็นเนื้อดิน (พิมพ์ดิน) ส่วนพิมพ์สำริดมีน้อยมาก พิมพ์พระหูยาน พิมพ์พระเหวัชระและพิมพ์หลวงพ่อจุก สามพี่น้อง (ตรีกาย) ก็พบเห็น พิมพ์ดินทั้งหมด มีช่างชาวอยุธยาได้เช่าจากร้านค้าของเก่าในเมืองลพบุรีไปแทบหมด และออกลูกหลาน เหลน มาให้ได้ชมกันต่อ พระหูยานมีต้นกำเนิดมาจากพระแผงสาม (ตรีกาย) นั่นเอง ใครจะเชื่อหรือไม่นั้นดูเอาเองและคิดให้ถ้วนถี่ว่าที่ผมพูดเช่นนี้มีความจริง หรือความเท็จแค่ไหน (ถ้าเห็นว่าเป็นเท็จอย่าเชื่อ) พระหูยานมีลักษณะเป็นศิลปสกุลช่างสมัยลพบุรี รูปองค์พระปฏิมากรประทับนั่งปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบบนอาสนะบัวเล็กช้าง 5 กลีบ มีเกสรบัวเป็นเม็ดๆ จุดๆ คล้ายไข่ปลาบนกลีบบัวทั้ง 5 พระศกแบบผมหวี พระเกศมาลามุ่นขมวดคล้ายดอกบัวตูม มีลายเส้น 2 เส้น เฉลียงไปทางขวามือของเรา (ทางซ้ายมือขององค์พระ) คล้ายกับดอกบัวเริ่มผลิตกลีบออกจากกัน (เริ่มบาน) พระกรรณ (หู) ทั้งสองข้างยานยาวจากระดับพระขนงเกือบจรพระอังสา (บ่า) พระพักตร์แสดงอวัยวะแต่ละส่วนออกมาอย่างชัดเจน ดูหน้าดุถมึงทึง บางคนเรียกว่าหน้ายักษ์ รอบบริเวณบนใบหน้า (พระพักตร์) จะแลดูอิ่มเอิบส้นพระขนง (คิ้ว) คล้ายนกบิน คือมีเส้นติดต่อกันตลอด ดวงเนตรเป็น 2 ชั้น ริมฝีพระโอษฐ์แสยะยิ้มเป็นร่อง ด้านหนึ่งทางซ้าย

  อัพเดต: 05/01/2023

  อ่าน:  1,766  คน