เหรียญรุ่น 2 พ.ศ.2498 หลวงพ่อทองสุข อินทโชโต วัดโตนดหลวง จ.เพชรบุรี

เหรียญรุ่น 2 พ.ศ.2498 หลวงพ่อทองสุข อินทโชโต วัดโตนดหลวง จ.เพชรบุรี<br /> ถือว่าเป็นวัตถุมงคลอันทรงคุณค่าของเมืองไทยเลยทีเดียวครับ “พระครูพินิจสุตคุณ” หรือ “หลวงพ่อทองสุข อินทโชโต” วัดโตนดหลวง ต.บางเก่า อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง มิใช่เฉพาะคนเมืองเพชร ตลอดถึงชาวจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะวัตถุมงคลที่มากด้วยพุทธคุณและประสบการณ์<br /> กล่าวสำหรับวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม คือ เหรียญหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง รุ่น 2 ถือได้ว่าเป็นเหรียญที่มีความยอดนิยมอย่างสูงในวงการพระเครื่อง<br /> เหรียญรุ่นนี้จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2498 เพื่อแจกในงานฉลองกุฏิ จัดสร้างด้วยกัน 3 เนื้อ คือ เนื้อทองคำ เงิน และทองแดง จำนวนสร้างไม่มีการบันทึกไว้แต่อย่างใด เหตุที่เหรียญรุ่น 2 ได้รับความนิยมมากกว่าเหรียญรุ่นแรก เนื่องมาจากเหรียญรุ่น 2 มีใบหน้าคล้ายมากกว่าเหรียญรุ่นแรก ซึ่งแม้แต่หลวงพ่อทองสุขก็ชอบเหรียญรุ่น 2 มาก<br /> ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนครึ่งตัว ด้านบนเขียนคำว่า “พระครูทองศุข อินทโชโต”<br /> ด้านหลังตรงกลางเป็นยันต์ประจำตัว ด้านบนยันต์ เขียนคำว่า “ที่ระลึกในงานฉลองกุฏิ” ด้านล่างสุดเขียนคำว่า “วัดโตนดหลวง ๒๔๙๘”<br /> เหรียญทั้งหมดนี้ได้ปั๊มเนื้อทองแดงก่อน หลังจากได้ปั๊มเหรียญเป็นจำนวนมาก แม่พิมพ์เคลื่อน ทำให้ด้านหน้าตรงอักษร “อินทโชโต” สระอิมีเนื้อเกินขึ้นมาชิดติดขอบเหรียญ<br /> หลังจากปั๊มเนื้อทองแดงครบตามจำนวน จึงปั๊มเนื้อเงินกับเนื้อทองคำ ทำให้ทั้ง 2 เนื้อ สระอิมีเนื้อเกินทั้งหมด<br /> ปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์สระอิลอย และพิมพ์สระอิติดขอบ<br /> เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมสูงมาก ทั้งยังเป็นที่รู้จักและมีประสบการณ์ จนติดอันดับเหรียญยอดนิยมของเมืองเพชร นามเดิมว่า สุข นามสกุล ดีเลิศ เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2420 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 9 ค่ำ เกิดที่บ้านทับใต้ ต.หินเหล็กไฟ แขวงเมืองเพชรบุรี ในสมัยรัชกาลที่ 5<br /> อายุ 9 ขวบ เข้าเรียนหนังสือที่วัดโพธิ์ อ.บ้านลาด เป็นศิษย์เจ้าอาวาส เล่าเรียนจนอ่านออกเขียนได้ และยังได้เรียนหนังสือขอมและบาลีอีกด้วย อีกทั้งท่านยังรักการต่อสู้ รักวิชาหมัดมวย กระบี่กระบอง จนต่อมาภายหลังมีลูกศิษย์ลูกหาในวิชาเหล่านี้หลายคน<br /> อายุ 15 ปี ย้ายไปอยู่ที่บ้านเพลง จ.ราชบุรี เป็นระยะช่วงวัยรุ่น คึกคะนอง ชอบเที่ยวเตร่คบเพื่อน ไม่ค่อยอยู่ติดบ้าน ชอบไปแสดงลิเก ละคร โขนหนัง จนขนาดเป็นครูสอนผู้อื่น<br /> ครั้นเบื่อการแสดง ลิเก ละคร ฯลฯ ก็เที่ยวเตร่ไปโดยไม่มีจุดหมาย จนไปคบพวกนักเลงอันธพาล จึงกลายเป็นนักเลงอันธพาล และในที่สุดเป็นอาชญากรสำคัญในย่านเพชรบุรี ราชบุรี และสมุทรสงคราม ต้องคอยหลบอาญาบ้านเมือง ซุกซ่อนอยู่ในป่าด้วยความลำบาก<br /> ครั้งหนึ่งหลบหนีเข้าไปในป่า ไม่ได้กินอาหาร 3 วัน ตอนนี้เองสำนึกตัวได้ว่าตนดำเนินชีวิตผิดทางเสียแล้ว ถ้าไม่กลับตัวย่อมจะได้รับความทุกข์ทรมานทั้งกายและใจ จึงตัดสินใจเข้าพิธีอุปสมบท ซึ่งขณะนั้นอายุได้ 32 ปี ตรงกับวันที่ 12 กรกฎาคม 2452 ที่วัดปราโมทย์ ต.โรงหวี อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม มีหลวงพ่อตาด วัดบางวังทอง เป็นพระอุปัชฌาย์<br /> จำพรรษาอยู่ที่วัดปราโมทย์ 4 พรรษา แล้วไปอยู่วัดแก้ว 2 พรรษา จังหวัดราชบุรี และไปอยู่วัดใหม่ 1 พรรษา ต่อจากนั้นก็ออกธุดงค์ไปกับสามเณรจันทร์ (ต่อมาคือ พระครูจันทร์ ธัมมสโร เจ้าอาวาสวัดมฤคทายวัน) หลังจากธุดงค์ไปหลายจังหวัดแล้ว ในที่สุดมาถึง ต.บางเก่า อ.ชะอำ<br /> ในช่วงนั้น วัดโตนดหลวง ไม่มีสมภาร ชาวบ้านไปพบก็เกิดความเลื่อมใส จึงนิมนต์ไปอยู่วัด เพื่อให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ.2448<br /> บำเพ็ญประโยชน์ต่อพระศาสนา บูรณะวัดโตนดหลวงเดิม ซึ่งชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้น ยังมีเมตตาจิตสร้างวัดช้างแทงกระจาด วัดท่าขาม และวัดเขาลูกช้าง ในด้านการศึกษาได้ช่วยสร้างอาคารเรียนให้ 3 ครั้ง<br /> เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม มีความรู้ในทางแพทย์แผนโบราณ<br /> อีกทั้งยังมีวิทยาคมขลัง จนมีผู้เลื่อมใสนับถืออยู่ทั่วไป ท่านมีชื่อเสียงในด้านการสักยันต์และลงกระหม่อม ชาวบ้านละแวกใกล้เคียงและบรรดาศิษยานุศิษย์จากต่างถิ่น นิยมชมชอบเรื่องการสักยันต์ และลงกระหม่อม จึงทำให้มีคนเดินทางมายังวัดโตนดหลวงมากมาย กุฏิจึงแน่นขนัดไปด้วยลูกศิษย์ แม้แต่คนใหญ่คนโตระดับประเทศยังเคารพเลื่อมใส ถวายตัวเป็นศิษย์ และรักการสักยันต์ ตลอดจนให้ลงกระหม่อม<br /> อาทิ พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา, จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นต้น<br />  <br /> ด้วยคุณูปการสร้างความเจริญแก่ท้องถิ่นชุมชนดังปรากฏผลงานมากมาย คณะสงฆ์จึงแต่งตั้งให้เป็นพระครู กรรมการศึกษา, พระอุปัชฌาย์ ในที่สุดได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูพินิจสุตคุณ<br /> พ.ศ.2458 ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโตนดหลวง<br /> เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ในช่วงสงครามอินโดจีน ท่านได้รับนิมนต์ให้เป็น 1 ใน 108 พระเกจิ ที่นั่งปลุกเสกพระพุทธชินราชที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย จัดสร้าง ณ พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม และพิธีพุทธาภิเษกครั้งสำคัญอีกหลายครั้ง อาทิ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ในงานปลุกเสกแหวนมงคล 9, นิมนต์ท่านเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก พระเครื่อง งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ซึ่งเป็นพิธีครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด<br /> สำหรับวัตถุมงคลที่มีชื่อเสียง อาทิ เหรียญ, ลูกอม, แหวน เป็นต้น<br /> มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2500 สิริอายุ 80 ปี<br /> พุทธคุณ โดดเด่น ทางด้านคงกระพัน และแคล้วคลาดปลอดภัย<br /> เป็นที่กล่าวขานเรื่องประสพการณ์อย่างมาก

  อัพเดต: 07/04/2023

  อ่าน:  1,297  คน