ประวัติและความเป็นมา "พระรอด พิมพ์ต้อ เนื้อเขียว"

          "พระรอด พิมพ์ต้อ เนื้อเขียว"<br />      พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน ถือว่าเป็น ๑ ในพระชุด “เบญจภาคี” หมายถึง พระเครื่องชุดหนึ่งประกอบด้วยพระจำนวน ๕ องค์ โดยมีพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม เป็นองค์ประธาน พระนางพญา กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก, พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี, พระลีลา จ.กำแพงเพชร และพระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน แต่เนื่องจากพระกำแพงลีลาหาได้ยากมากขึ้น จึงได้พระกำแพงซุ้มกอ จ.กำแพงเพชร มาแทน ผู้ที่จัดพระชุดเบญจภาคีคือ “ตรียัมปวาย” นี้เองที่ได้จัดทำทำเนียบชุดพระเครื่อง “เบญจภาคี” ขึ้นเมื่อปี ๒๔๙๕<br />              อย่างไรก็ตาม เมื่อแรกเริ่มยังคงเป็นเพียง “ไตรภาคี” คือมีเพียง ๓ องค์เท่านั้น อันประกอบด้วย พระสมเด็จวัดระฆัง เป็นองค์ประธาน ซ้าย-ขวา เป็นพระนางพญา (พิษณุโลก) และพระรอด (ลำพูน) หลังจากนั้นไม่นานจึงได้ผนวก “พระซุ้มกอ” (กำแพงเพชร) และ “พระผงสุพรรณ” (สุพรรณบุรี) พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน มีการแบ่งแยกเป็นพิมพ์ต่างๆ ซึ่งมีทั้ง<br />           พิมพ์ใหญ่ <br />           พิมพ์กลาง <br />           พิมพ์เล็ก <br />      พิมพ์ต้อ และพิมพ์ตื้น ซึ่งในแต่ละพิมพ์นั้น ก็ยังอาจจะมีแม่พิมพ์หลายอัน โดยอาจจะมีส่วนผสมของเนื้อที่แตกต่างกันไปบ้าง หรืออาจจะได้รับไฟเผาในจุดอุณหภูมิที่ไม่เท่ากัน ตลอดจนถึงการกดพิมพ์ในแต่ละครั้งด้วย จึงทำให้พระรอดแต่ละองค์จึงมีลักษณะของสี ขนาด หรือรายละเอียดของพิมพ์ทรงในบางจุด ที่ดูต่างกันไป แต่จุดที่สำคัญคือต้องดูศิลป์โดยองค์รวมบวกกับความเก่าของเนื้อพระ ที่ถึงยุคสมัยทวารวดี<br />      วัดมหาวันวนาราม ตั้งอยู่ใกล้คูเมือง ด้านทิศตะวันตก ถ.จามเทวี ในเขตเมืองลำพูน สร้างขึ้นในสมัยพระนางจามเทวีครองหริภุญไชย พระนางจามเทวีนั้นเดิมอยู่ที่อาณาจักรละโว้ เมื่อฤาษีวาสุเทพสร้างหริภุญไชยขึ้น พระนางจามเทวีได้เสด็จมาปกครองเป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรหริภุญไชย เมื่อพระนางจามเทวีเสด็จมาหริภุญไชยนั้นได้พาไพร่พลที่มีความรู้สาขาต่างๆ พร้อมพระสงฆ์ ประมาณ ๕๐๐ รูปมาด้วย รวมทั้งอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญอีก ๒ องค์ คือ พระแก้วขาว (พระเสตังคมณี) และพระศิลาดำ (พระพุทธสิกขิ) มาด้วย<br />       เมื่อถึงหริภุญไชย พระนางจามเทวีโปรดให้สร้างวัดมหาวัน เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระสงฆ์และนำพระศิลามาประดิษฐานไว้ด้วย (ส่วนพระแก้วขาวนั้นพระเจ้าเม็งรายแห่งล้านนาได้อัญเชิญไปเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ และประดิษฐานไว้ที่วัดเชียงมั่น ใน จ.เชียงใหม่ จนถึงปัจจุบัน) ต่อมาหริภุญไชยเกิดสงครามกับขุนลัวะวิลังขะ พระฤาษีจึงใช้พระศิลาดำเป็นต้นแบบสร้าง พระเครื่องแจกจ่ายชาวเมืองเพื่อใช้ออกศึก<br />      พระเครื่องส่วนที่เหลือบรรจุไว้ในเจดีย์ที่วัดมหาวัน ต่อมาในยุคหลัง เมื่อเจดีย์บรรจุพระปรักหักพังลง ชาวบ้านจึงพบพระเครื่องที่เก็บไว้ต่างนำกันไปบูชาและ พบกับอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ พระเครื่องเหล่านี้คือ พระรอดมหาวันที่โด่งดังนั่นเอง<br /> สุดท้ายนี้ผมขอให้ท่านและครอบครัวมีแต่ความสุขสมหวังและรอดปลอดภัยจากอุปสรรคทั้งหลายทั้งปวงเลยนะครับผม     #สถาบันรับรองและตรวจสอบวัตถุมงคลประเทศไทย เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ ชั้น 1 (เปิดบริการทุกวัน)<br /> เวลา 11.00 น. - 20.00 น.  ติดต่อ 02-1938223-4 / 065-5824972

  อัพเดต: 14/01/2020

  อ่าน:  10,681  คน