พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย สกุลช่างเมืองน่าน

พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย สกุลช่างเมืองน่าน ศิลปะสุโขทัย เป็นศิลปะที่เกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18–19 ในบริเวณลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แถบจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ พิษณุโลก และบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ทางตอนใต้ของจังหวัดกำแพงเพชร พระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัยเป็นไปตามแบบแผนของชาวพุทธศาสนาเถรวาท ถ่ายทอดผ่านรูปทรงอันเกิดจากสัดส่วน เส้นนอก และปริมาตรซึ่งประสานกลมกลืนกันอย่างเรียบง่าย ส่วนศาสนาฮินดูมีด้วยแต่มีอยู่น้อยด้วยสุนทรียภาพไม่แตกต่างจากพระพุทธรูป วัสดุที่นำมาสร้างประติมากรรม มีปูนเพชร (ปูนขาวแช่น้ำจนจืด ผสมกับทรายที่ร่อนละเอียด ยางไม้ และน้ำอ้อย นำมาโขลกให้เหนียว แล้วนำมาปั้น เมื่อแห้งจะแข็ง และทนทานต่อดินฟ้าอากาศมาก) ดินเผา ไม้ โลหะสำริด และทองคำ แบ่งประติมากรรมสมัยสุโขทัย เป็น 3 ยุค คือ ยุคที่ 1 ยังแสดงอิทธิพลของศิลปะลพบุรี การสร้างพระพุทธรูปในยุคนี้ มีแบบเฉพาะเป็นของตนเองที่ เรียกกันว่า แบบวัดตะกวน เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสน ลังกา และสุโขทัย ผสมผสานกัน มีพระพักตร์กลม พระรัศมีเป็นแบบลังกา พระวรกาย และชายสังฆาฏิสั้นแบบเชียงแสน ยุคที่ 2 พัฒนารูปแบบการสร้างพระพุทธรูป จนก่อรูปพุทธลักษณะอันงดงามของสกุลช่างสุโขทัยเอง ไม่นิยมสลักหิน แม้จะเป็นพระพุทธรูปขนาดใดก็ตาม จะปั้นด้วยปูน หรือหล่อด้วยโลหะมีค่าต่าง ๆ รวมทั้งทองคำบริสุทธิ์ ลักษณะพระพุทธรูปสุโขทัยยุคนี้ คือ พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระเศียรสมส่วนกับพระศอ และพระอังสา หมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระอุระผายสง่า พระอังสาใหญ่ กว้าง พระถันโปน บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง ชายจีวรยาวจรดมาถึงพระนาภี ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ พระกรเรียวดุจงาช้าง นิ้วพระหัตถ์ และนิ้วพระบาททำแบบธรรมชาติ ดุจมีชีวิต ฐานเป็นหน้ากระดานเกลี้ยง ปางที่นิยมคือ ปางมารวิชัย ยุคที่ 3 มีความประณีต ดูเสมือนมีระเบียบ และกฎเกณฑ์มากขึ้น พระรัศมีเป็นเปลวมีขนาดใหญ่ขึ้น พระพักตร์รูปไข่สั้น พระอุณาโลมเป็นตัวอุหงายระหว่างหัวพระขนง พระวรกายมีความอ่อนไหวน้อยลง พระอาการสงบเสงี่ยมแลดูนิ่งสงบขึ้น พระกรยาว นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 เสมอกัน ฝ่าพระบาทเรียบสั้น พระบาทยาว ตัวอย่างพระพุทธรูปยุคนี้เช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระศรีศากยมุนี เป็นต้น[3] พระพุทธรูปที่นิยมสร้างในสมัยสุโขทัยคือพระสี่อิริยาบถ พระพิมพ์ในสมัยสุโขทัยทำด้วยดินเผาและโลหะ ยังนิยมสร้างพระพุทธบาทด้วย มีทั้งทำด้วยศิลาและสัมฤทธิ์[4] สำหรับการทำเครื่องสังคโลกได้รับการถ่ายทอดวิทยาการมาจากประเทศจีน เป็นเครื่องใช้สอยในชีวิตประจำวัน ประดับตกแต่งศาสนสถาน และส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยมากทำเป็นจาน ชาม ไห แจกัน ตุ๊กตา เครื่องตกแต่ง มีเนื้อละเอียด เช่น รูปช้างศึก ตุ๊กตา เจดีย์ ส่วนใหญ่มีสีน้ำตาล สีน้ำตาลปนเหลือง สีเขียว สีเขียวไข่กา และสีขาวทึบ #ป๋องสุพรรณการันตี

  อัพเดต: 31/07/2024

  อ่าน:  62  คน