หลวงปู่ทวด พิมพ์หลังเตารีดใหญ่ บล็อกแตก(นิยม) ปั้มซ้ำ เนื้อโลหะผสม วัดช้างให้ ปี พ.ศ.2505
หลวงปู่ทวด พิมพ์หลังเตารีดใหญ่ บล็อกแตก(นิยม) ปั้มซ้ำ เนื้อโลหะผสม วัดช้างให้ ปี พ.ศ.2505 "หลวงปู่ทวด พิมพ์หลังเตารีดใหญ่ ปั้มซำ้ บล็อกแตก(นิยม) วัดช้างให้ ปี 2505" หลวงปู่ทวดรุ่นนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ในการสร้าง โดยนำเค้าโครงมาจากหลวงปู่ทวดเนื้อว่านรุ่นปี พ.ศ.2497 แต่สร้างเป็นเนื้อโลหะ โดยพระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรได้ทรงรับสั่งให้อาจารย์สวัสดิ์หล่อพระหลวงปู่ทวด เนื้อโลหะหลังเตารีดขึ้นมา 3 แบบ คือพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก และอีกส่วนหนึ่งเป็นพระปั๊มที่ด้านหลัง จะมีตัวหนังสือแบ่งออกเป็นพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ตัว "ท" และพิมพ์ธรรมดา พิมพ์เล็ก พิมพ์มีตัว "ท" และพิมพ์ธรรมดา หลวงปู่ทวดหลังเตารีดนี้เมื่อเวลาหล่อพระออกมาแล้วพระพิมพ์ใหญ่บางส่วนหล่อออกมาไม่ สวย ติดไม่เต็ม จึงได้มีการทำแม่พิมพ์ขึ้นใหม่ และนำพระองค์ที่ติดแม่พิมพ์ไม่เต็มมาปั๊มซ้ำลงไปใหม่ จึงเกิดเป็นพระหลวงปู่ทวดพิมพ์ใหญ่ปั๊มซ้ำขึ้นมา และพระหลวงปู่ทวดพิมพ์กลางนั้นพระส่วนใหญ่หล่อออกมาพระไม่ค่อยสวย จึงต้องนำมาทำแม่พิมพ์ใหม่และปั๊มซ้ำเกือบทั้งหมด พระพิมพ์กลางจึงเป็นพระที่มีการปั๊มซ้ำเป็นส่วนมากและมีพระพิมพ์กลางบางองค์ ที่ติดแม่พิมพ์ดีอยู่แล้ว แต่มีจำนวนน้อยไม่ได้ปั๊มซ้ำ จึงเป็นที่มาที่เรียกว่าพระหลวงปู่ทวดหลังเตารีด พิมพ์กลางปั๊มซ้ำ ส่วนพระหลวงปู่ทวด พิมพ์หลังหนังสือนั้นเป็นพระที่ปั๊มทั้งหมดที่กรุงเทพฯ พระทั้งหมดเมื่อทำเสร็จก็ทยอยส่งไปให้อาจารย์ทิมปลุกเสก ณ วัดช้างให้ พระหลวงปู่ทวดรุ่นปี พ.ศ.2505 นี้เป็นพระเนื้อโลหะผสม บางองค์กระแสออกแดง บางองค์กระแสออกเหลือง ส่วนที่เป็นเนื้อเมฆพัดก็มีบ้างเป็นส่วนน้อย พิธีปลุกเสกจัดขึ้นเป็นพิธีใหญ่มากในยุคนั้น โดยก่อนปลุกเสกมีงานฉลองถึง 3 วัน คือวันที่ 17-18-19 พฤษภาคม พ.ศ.2505 หลังจากปลุกเสกเสร็จเรียบร้อยในวันที่ 19 ตอนสายๆ มีผู้ศรัทธาไปรอรับพระกันอย่างมืดฟ้ามัวดิน จนต้องแจกพระกันทางหน้าต่าง พระที่เข้าร่วมพิธีครั้งนั้นนอกจากพระหลวงปู่ทวด พิมพ์หลังเตารีด พระหลวงปู่ทวด พิมพ์หลังหนังสือแล้ว ก็ยังมีพระหลวงปู่ทวดเนื้อว่านรุ่นพินัยกรรม เหรียญรุ่น 4 และพระเนื้อว่าน วัดเมือง ยะลา รุ่นแรก ปัจจุบันพระหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ พิมพ์หลังเตารีด เป็นที่นิยมเสาะหาของผู้นิยมพระเครื่องเพื่อไว้มีคุ้มครองเพื่อเป็นสิริ มงคล สนนราคาจึงสูงมากทุกพิมพ์โดยเฉพาะเนื้อนวะโลหะมีจำนวนการสร้างน้อยก่วาทุกเนื้อราคาจึงจะสูงถึง7หลักขึ้นไปครับผม
อัพเดต: 31/07/2024
| อ่าน: 242 คน
ประวัติและความเป็นมา "พระขุนแผน กรุบ้านกร่างพิมพ์ห้าเหลี่ยม อกใหญ่ (นิยม)"
02/02/2020
21,368
ประวัติและความเป็นมา "หลวงปู่ทวด พิมพ์พระรอดต้อ เนื้อวาน ปีพ.ศ.2497 วัดข้างให้"
22/11/2021
2,661
เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ หลวงพ่อทวด เนื้ออัลปาก้า วัดช้างให้ จ.ปัตตานี พ.ศ.2508
09/01/2022
2,874
เหรียญหลวงพ่อผาง จิตตคุตโต เนื้อทองคำ (ปราบปอบ) สร้างที่ระลึกฉลองพระพุทธชินราชจำลอง ปี ๒๕๒๑
07/04/2023
1,815