พระนางพญา พิมพ์เทวดา เนื้อสีเขียว จังหวัดพิษณุโลก

♥️พระนางพญา พิมพ์เทวดา เนื้อสีเขียว จังหวัดพิษณุโลก พระนางพญาเป็นพระเครื่องเนื้อดินเผาพบที่วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก เมื่อพุทธศักราช 2444 มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันมานานคู่กันกับ"พระสมเด็จฯ"อิทธิพลของพระนางพญาทำให้เนื้อดินทรงสามเหลี่ยมอื่นๆคนจะเรียกคำนำหน้าว่า"พระนางพญา"ด้วย ทั้งที่มิได้มีความเกี่ยวข้องกับวัดนางพญาเลยแต่อย่างใด จัดว่าเป็นหนึ่งในพระชุด"เบญจภาคี"ที่มีผู้คนนิยมกันมาก จังหวัดพิษณุโลกเป็นจังหวัดที่รุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีตโดยเฉพาะในสมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา กษัตริย์ไทยหลายพระองค์เคยประทับอยู่เมืองนี้ เช่น พระมหาธรรมราชาลิไทย และสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อีกทั้งยังเป็นเมืองที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์สำคัญ ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และมีความงดงามที่สุดคือ"พระพุทธชินราช"นอกจากนี้เมืองนี้ยังมีพระกรุที่สำคัญคือ"พระพญา"ครับ พระวัดนางพญาพิษณุโลก เป็นพระที่มีศิลปะและอายุสมัยอยุธยา แต่จะสร้างสมัยกษัตริย์พระองค์ใดนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ได้แต่คาดคะเนว่าอาจจะสร้างสมัยพระมหาธรรมราชาและพระมเหสีพระวิสุทธิกษัตริย์(พระราชมารดา ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช)ในราวพ.ศ. 2095 ถึงพ.ศ. 2100 โดยเหตุที่ว่าพระองค์ครองเมืองนี้ในระหว่างยุคนั้นครับ กรุพระวัดนางพญาเป็นซากโบราณสถาน ที่ปรักหักพังฝังจมดินอยู่บริเวณด้านหน้าวัด การที่พบพระก็เพราะมีการขุดหลุมเพื่อจะสร้างศาลาวัด พอขุดลงไปก็พบพระจำนวนมากในปีพุทธศักราช 2444 นั่นเองพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาเมืองพิษณุโลก เพื่อทรงหล่อพระพุทธชินราจำลอง นำไปประดิษฐานเป็น พระประธานที่วัดเบญจมบพิตรกรุงเทพมหานครทางจังหวัดจึงได้นำพระนางพญาที่เพิ่งพบทูลเกล้าถวายพระองค์ และผู้ติดตามจำนวนหนึ่งจึงเป็นการเริ่มต้นของการเผยแพร่พระนางพญาให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางในเวลาต่อมาครับ ส่วนพิมพ์พระนางพญามีแตกต่างกันหลายพิมพ์ มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดย่อมทางวงการพระจัดแบ่งพิมพ์ออกเป็น7พิมพ์ คือ 1.พิมพ์เข่าโค้ง 2. พิมพ์เข่าตรง 3. พิมพ์เข่าตรง(มือตกเขา) 4. พิมพ์อกนูนใหญ่ 5. พิมพ์สังฆาฏิ 6. พิมพ์อกนูนเล็ก 7. พิมพ์เทวดา เป็นฝีมือสกุลช่างอยุธยา ลักษณะโดยรวม คือเป็นพระพุทธประทับนั่งปางมารวิชัย อยู่ในกรอบทรงสามเหลี่ยม ส่วนใหญ่ไม่ปรากฏรายละเอียดของพระพักตร์เห็นเส้นสังฆาฏิค่อนข้างชัด ส่วนเนื้อเป็นดินเผาบางองค์มีแร่ปรากฏ สีของพระอาจจะแตกต่างกันบ้าง ขึ้นอยู่กับการเผาและสภาพการเก็บรักษาพระพระที่ถูกสัมผัสมากเนื้อพระจะนุ่ม บางองค์มีการลงรักหรือยางไม้จะทำให้พระเนื้อจัดมากขึ้น ด้านข้าง เป็นการตัดด้วยตอก กรอบอาจจะชิดองค์พระหรือห่างต่างกัน บางองค์ตัดจนโย้ไปอีกข้างหนึ่งก็มีครับสุดท้ายนี้ ผมขอให้ท่านและครอบครัว จงมีแต่ความสุขความเจริญตลอดกาลนะครับ #ป๋องสุพรรณการันตี

  อัพเดต: 06/09/2024

  อ่าน:  113  คน