ตํานานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระขุนแผนกรุโรงเหล้า พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่ กรุโรงเหล้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ตํานานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระขุนแผนกรุโรงเหล้า พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่ กรุโรงเหล้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา #พระขุนแผนกรุโรงเหล้า เนื้อดินอันศักดิ์สิทธิ์ผสมว่านอมฤต (ไม่เครือบ) พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่ กรุโรงเหล้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา #พุทธศิลป์สกุลช่างชาวรามัญ (มอญ) โดยจําลององค์พระมาจาก องค์พระพุทธชินราช เมืองพิษณุโลกสองแคว , ผู้สร้างคือ สมเด็จพนรัตน วัดป่าแก้ว (ปล.พระมหาเถรคันฉ่องประธานฝ่ายสงฆ์)ผู้เป็นพระอาจารย์ขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (องค์ดำประธานฝ่ายฆราวาส) สมเด็จพนรัตน วัดป่าแก้ว ได้ทรงสร้างพระขุนแผนหน้าอิฐขึ้น หลังจากเสร็จศึกในสงครามยุทธหัตถี แล สร้างบ้านแปงเมือง ให้ดีดังเดิม , อายุพระนับแต่แรกสร้างถึงปัจจุบันร่วม ๕๐๐ ปี "กรุโรงเหล้า" ซึ่งชื่อกรุก็ดูแปลกๆ แล้ว เขามีแต่กรุวัดนั้น วัดนี้ นี่เป็นกรุโรงเหล้า นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาและพิมพ์ทรงเดียวกันกับ "พระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา" และมีทั้งพิมพ์อกใหญ่และพิมพ์แขนอ่อน เช่นเดียวกัน จะแตกต่างกันตรงที่เป็นพระที่ยังไม่ได้เคลือบด้วยน้ำยาเท่านั้น พระพิมพ์นี้ยังไปตรงกับ "พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง จ.สุพรรณบุรี" อีกด้วย แต่แตกต่างกันตรงเนื้อหาที่สร้างด้วยดินขาว ดินเหลือง และดินดำ เป็นหลัก เมื่อเผาแล้วองค์พระจะออกเป็นสีขาวแบบเนื้อกระเบื้อง ทำให้เนื้อพระมีความแกร่งมากกว่า #นับเนื่องไปเมื่อปี พ.ศ.2485 โรงเรียนฝึกหัดครูสตรีประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะเมือง ด้านหน้าติดถนนอู่ทอง ฝั่งตรงข้ามเป็นโรงงานสุราพระนครศรีอยุธยา ซึ่งหันหน้าไปทางแม่น้ำเจ้าพระยา หันหลังให้โรงเรียนฝึกหัดครูสตรี (อันเป็นที่มาของการเรียกชื่อกรุ) ได้ขยายและก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่ม โดยมีผู้ควบคุมการตกแต่งสถานที่ ชื่อ ท่านอาจารย์หลุย ชมชื่น มีคนงานทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยอิสลาม โดยส่วนใหญ่เกลี่ยดินในสมัยนั้นปรากฏว่า คนงานขุดแต่งโคกโบสถ์ร้างแห่งหนึ่งซึ่งเต็มไปด้วยซากอิฐซากปูน ชาวบ้านเรียกกันว่า "วัดสิงห์หลาย" หรือ "วัดสิงห์ทลาย" ลึกลงไปประมาณหนึ่งเมตร คนงานพบพระเนื้อผงสีขาวและสีขาวปนชมพู กระจัดกระจายเกลื่อนเป็นร้อยๆ องค์ และพบหุ่นสิงโตทองคำปะปนอยู่ด้วยตัวหนึ่ง เนื่องจากองค์พระมีพุทธลักษณะเหมือน "พระขุนแผน" ที่ขึ้นอยู่ก่อนหน้านี้ จึงเรียกพระที่พบว่า "พระขุนแผน กรุหลังโรงเหล้า" หรือ "พระขุนแผน กรุโรงเหล้า" เมื่อนำพระมารวมกันมีทั้งสมบูรณ์และชำรุดจำนวนเกือบพันองค์ ก็เช่าซื้อกันองค์ละไม่เกินสิบบาท #ต่อมาได้มีการสร้างและขยายโรงงานต่างๆ เพิ่มเติมในแถบ ต.หัวแหลม บริเวณนี้ชาวบ้านเรียกว่า "วัดสามจีน" เพราะเดิมเป็นเขตวัดพระจีน แต่ต่อมาก็กลายเป็นวัดร้าง ซึ่งก็ยังติดต่อกับเขตโรงเรียนฝึกหัดครูฯ และทางเทศบาลเมืองพระนครศรีอยุธยาได้จัดสร้างเป็นโรงเก็บน้ำประปา ในขณะก่อสร้างใช้รถไถปรับพื้นดิน ปรากฏพระขุนแผนเนื้อผงพิมพ์เดียวกันกับวัดสิงห์ทลาย บางองค์ก็เป็นเนื้อกระเบื้องเคลือบคล้ายของวัดใหญ่ชัยมงคล #พุทธลักษณะของ "พระขุนแผน กรุโรงหลังเหล้า (กรุโรงเหล้า)" และที่พบบริเวณวัดสามจีน จะคล้ายคลึงกับพระที่เรียกว่า "ขุนแผน" ซึ่งขึ้นอยู่ทั่วไปในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือ องค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว อันแสดงออกถึงศิลปะสมัยอยุธยา แต่ไม่เคลือบเช่นเดียวกับพระขุนแผนกรุบ้านกร่าง และไม่พบพระเคลือบเหมือนกรุวัดใหญ่ชัยมงคล โดยสามารถแยกออกได้เป็น 2 พิมพ์ คือ "พิมพ์อกใหญ่" และ พิมพ์แขนอ่อน" เนื้อขาวปนชมพู โดยพิมพ์อกใหญ่จะมีความแข็งแกร่งมากกว่าพิมพ์แขนอ่อน พระที่เรียกว่า "พระขุนแผน" นั้น เป็นที่ยอมรับกันทุกผู้ทุกนามในเรื่องพุทธคุณเข้มขลังที่ครบเครื่องครบครัน โดยเฉพาะด้านเมตตามหานิยมสูงส่ง มีเรื่องเล่าเกี่ยวกประสบการณ์ของพระขุนแผน พุทธคุณด้านเมตตามหานิยม ในแวดวงพระเครื่องเมืองกรุงเก่าสืบต่อมา ขึ้นชื่อว่า "พระขุนแผน" แล้ว ไม่ว่ากรุไหน พิมพ์ไหน ก็เป็นที่นิยมและเสาะแสวงหากันในวงการนักนิยมสะสมพระเครื่องอย่างกว้างขวาง เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว "พระขุนแผน กรุหลังโรงเหล้า (กรุโรงเหล้า)" ก็เช่นกัน แต่สนนราคาจะแตกต่างกันไป ดังนั้นผู้ที่สามารถแยกพิมพ์ออกว่าขึ้นจากกรุไหนก็จะได้เปรียบมากกว่า พระขุนแผนโรงเหล้า เป็นพระเครื่องที่นอกจากจะหายากแล้ว ยังเป็นเพราะพุทธคุณเป็นที่ปรากฏ ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี ดีนักแล ฯลฯ ... การสร้าง "พระขุนแผนกรุโรงเหล้า" นั้น มาจากเมื่อครั้งที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถี ชนะพระมหาอุปราชา เมื่อเสด็จฯ กลับถึงพระนคร จึงโปรดฯ ให้สร้างพระมหาเจดีย์ใหญ่ขึ้นไว้เป็นพุทธบูชาและเป็นอนุสรณ์แห่งการสงคราม ที่วัดป่าแก้ว หรือ"วัดใหญ่ชัยมงคล"นั่นเอง พระเครื่องรุ่นนี้ แบ่งออกเป็น ๓ พิมพ์ คือ ๑.พิมพ์อกใหญ่ ฐานสูง ๒.พิมพ์อกใหญ่ ฐานเตี้ย ๓.พิมพ์แขนอ่อน #พุทธคุณ มหาโชค มหาชัย อํานวยโชคลาภ เงินทองหลั่งใหล เมตตามหาเสน่ห์ มหานิยม ตามแบบฉบับพระเครื่องฝ่ายบุญฤทธิ์ (ปล.พระของสงฆ์ผู้สําเร็จฤทธิ์อภิญญา ชั้นสูงสุด) #ป๋องสุพรรณการันตี
อัพเดต: 29/09/2024
| อ่าน: 238 คน
ประวัติและความเป็นมา "เหรียญพระพุทโธภาสชินราชจอมมุณี (หลวงพ่อพระพุทโธใหญ่ ปี 2499) เนื้อเงินลงยาสีแดง
02/10/2020
4,318
หลวงปู่ทวด พิมพ์หลังเตารีดใหญ่ เนื้อนวะโลหะ ปี พ.ศ.2505 วัดช้างให้ จ.ปัตตานี
20/09/2024
261
ประวัติและความเป็นมา "พระปิดตา แร่บางไผ่ หลวงปู่จัน วัดโมลี พิมพ์หมวกแก๊ป"
20/08/2021
2,501
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า พิมพ์ประภามณฑล บัวสองชั้น หลังจาร ศิลป์ชาวบ้าน เนื้อชินตะกั่ว ยุคต้น
24/06/2024
333