เหรียญพญาเต่าเรือนหลวงปู่หลิว วัดสนามแย้ 1 ตก สร้างปี 2522 เนื้อทองคำ (หายากสร้างน้อย)

♥️เหรียญพญาเต่าเรือนหลวงปู่หลิว วัดสนามแย้ 1 ตก สร้างปี 2522 เนื้อทองคำ (หายากสร้างน้อย) หากพูดถึงวัตถุเสริมสิริมงคล หลายๆคนคงเคยได้ยินชื่อเสียงจากพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งจังหวัดนครปฐม ในนามของ หลวงปู่หลิว หรือ พญาเต่าเรือน แห่งวัดไร่แตงทอง ซึ่งเหรียญมงคลของท่าน จะเป็นที่นิยมของแวดวงคนเล่นพระ นับวันจะยิ่งหายากและราคาจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยพุทธคุณที่ครบเครื่อง ไม่ว่าจะด้านโชคลาภ การมีอายุมั่นขวัญยืน แคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันตรายอีกทั้งยังมีเหตุการณ์ปาฏิหารย์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับผู้ที่บูชา จึงเป็นที่มาของความศรัทธาที่ท่วมท้น วันนี้ฤกษ์งามยามดีออโรร่าจะพาทุกคนไปรู้จักกับตำนาน หลวงปู่หลิว หรือ พญาเต่าเรือน ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือตามข้างต้นที่บอกมา บอกเลยว่าหลายอย่างน่าอัศจรรย์ใจจริงๆค่ะ   ประวัติหลวงปู่หลิว  หลวงปู่หลิว ปณฺณโก มีนามเดิมว่า “หลิว แซ่ตั้ง” เกิดในวันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2448 เป็นบุตร คุณพ่อเต่ง คุณแม่น้อย แซ่ตั้ง ครอบครัวของหลวงปู่หลิวจะประกอบอาชีพทำไร่ทำนา อยู่ที่ หมู่บ้านหนองอ้อ ต.บ้านสิงห์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี นอกจากทำไร่ทำนาแล้ว หลิว แซ่ตั้ง (นามในขณะนั้น) ยังมีความขยันขันแข็ง ได้เรียนรู้ และศึกษาวิชาช่างจากพ่อ  หลิวจึงออกรับจ้างเพื่อให้ได้เงินมาช่วยแบ่งเบาภาระของที่บ้าน และเนื่องจากหลิวต้องออกเดินทางไกล ทำให้ในบางครั้งเกิดการล้มป่วยบ้าง หลิวจึงมีความรู้เกี่ยวกับยาและสมุนไพรมากมาย   ครั้งอดีต มีการเล่าขานกันว่า ในเขตภาคกลาง เพชรบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ขึ้นชื่อว่า เป็นแดนเสือ ดงนักเลง ซึ่งมีโจรมีผู้ร้ายอาศัยอยู่มากมาย ทำให้ครอบครัวของหลิวโดนขโมยวัว-ควายหลายครั้ง หลิวจึงคิดหาวิธีปราบโจรเหล่านั้น จึงเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์กับอาจารย์หม่ง จอมขมังเวทย์ชาวกะเหรี่ยง เพื่อเรียนรู้วิชาอาคม เป็นเวลานานกว่า 3 ปี ก่อนจะเดินทางกลับ อาจารย์หม่งได้กำชับว่า วิชาอาคมต่างๆ ห้ามใช้จนกว่าจะถูกรังแกหรือถูกทำร้ายอย่างถึงที่สุด จนกระทั่งวันหนึ่ง โจรก็เข้ามาทำการปล้นชิงอีกครั้งที่บ้านของหลิว หลิวจึงใช้วิชาควายธนูขับไล่ จนทำให้มีข่าวแพร่กระจายไปทั่วเมืองว่าหลิวเป็นคนมีของดี สามารถปราบโจรได้อย่างราบคาบ   ต่อมาหลิวได้ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวมีภรรยาและลูกชาย จากนั้นหลิวได้ตัดสินใจละทางโลก หนีความวุ่นวายในสังคมมนุษย์ เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ อุปสมบท ในอายุ 27 ปี ณ พัทธสีมาพระอุโบสถ วัดโบสถ์ ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี โดยมีหลวงพ่อโพธาภิรม แห่งวัดบำรุงเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่ออินทร์ วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระอาจารย์ห่อ วัดโบสถ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และได้รับฉายาว่า ปณฺณโก (อ่านว่า ปัน-นะ-โก) จากนั้นท่านได้ไปจำพรรษาต่อที่วัดหนองอ้อ และเดินทางไปศึกษาวิชาอาคมเพิ่มเติมกับพระอาจารย์ชาวกะเหรี่ยงอีกครั้ง   ซึ่งในพรรษาแรกนั้น ท่านมีโอกาสได้ใช้วิชาช่างช่วยท่านเจ้าอาวาสก่อสร้างศาลาการเปรียญหลังหนึ่ง รวมไปถึงการบูรณปฏิสังขรณ์ ก่อสร้างเสนาอาสนะ สร้างวัดใหม่ เช่น วัดไทรทองวัฒนา วัดไร่แตงทอง และศาสนสถานอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีสำนักสงฆ์ โรงเรียน โรงพยาบาล สถานีอนามัยต่างๆ ที่ท่านได้ทำนุบำรุงพระศาสนาและพัฒนาสาธารณประโยชน์   หลวงปู่หลิวได้กลับมาจำพรรษา ณ วัดหนองอ้อ อีกครั้ง ก่อนหลวงปู่หลิวเริ่มอาพาธด้วยโรคชรา หลังจากพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลรุ่นเสาร์ 5 และละสังขาร ด้วยอายุ 95 ปี เมื่อวันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2543 เวลา 20.35 น. รวมทั้งสิ้น 74 พรรษา   ต่อมา เจ้าอาวาสวัดไร่แตงทององค์ปัจจุบัน พระใบฎีกาสายชล จิตฺตกาโร และคณะศิษย์ ได้จัดสร้างรูปเหมือนหลวงปู่หลิว นั่งประทับพญาเต่าเรือนองค์ใหญ่ สูง 8 เมตร 1 ศอก กว้าง 6 เมตร 1 คืบ และยาว 8 เมตร 1 คืบ พร้อมกับวิหารครอบ เพื่อตั้งเป็นอนุสรณ์แห่งความดี ปัจจุบัน ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งที่ผู้คนเลื่อมใสศรัทธาและต่างพากันไปชมและลอดใต้ท้องเต่า กับความเชื่อที่เล่าต่อขานกันมา ไม่ว่าจะขอพรสิ่งใดย่อมสมปารถนา ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และมีอายุที่ยืนยาวเหมือนหลวงปู่หลิวครับ เมื่อปี พ.ศ. 2522 วัตถุมงคลของหลวงปู่หลิว ปณฺณโก ถูกสร้างขึ้นที่วัดสนามแย้ ซึ่งแต่ละรุ่นที่ถูกสร้างจะมีพุทธคุณดีหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น เมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี ทำมาค้าขายขึ้น มั่งมีศรีสุข มีโชคมีลาภ มีเงินมีทอง ปราศจากโรคภัย คนในบ้านรักใคร่สามัคคี ปองดองกัน อยู่เย็นเป็นสุข     🙏คาถา หลวงปู่หลิว ให้ตั้งนะโม 3 จบ แล้วสวดมนต์ดังนี้  “จะขอลาภหลวงปู่หลิว จะมะหาเถรา สุวรรณะมามา ระชะมามา เพชรชะมามา อาหาระมามา ขาทะนียะมามา โภชะนียะมามา สัพเพชะนา พะหูชะนา สัพพะบูชา ภะวันตุเม นะชาลีติ อาคัจฉัยยะ อาคัจฉาหิ”   🙏คาถาพญาเต่าเรือน "นะมะภะทะ นาสังสิโม สังสิโมนา สิโมนาสัง โมนาสังสิ นะอุทะกะ เมมะอะอุอะ” #ป๋องสุพรรณการันตี

  อัพเดต: 03/11/2024

  อ่าน:  80  คน