หลวงปู่ทวด พิมพ์กลางลึก เนื้อวาน ปี พ.ศ.2497 วัดช้างให้
🔴หลวงปู่ทวด พิมพ์กลางลึก เนื้อวาน ปี พ.ศ.2497 วัดช้างให้ พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน ปี 2497" ซึ่งความจริงแล้วมีหลักฐานบางส่วนระบุว่า "หลวงปู่ทวด" มีอายุในราวสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ผ่านการติดต่อโดยฌานสมาบัติ โดย พระครูวิสัยโสภณ หรือพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ. ปัตตานี และฆราวาสที่มีความสำคัญมากต่อการอุบัติของสุดยอดพระเครื่องหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ได้แก่ คหบดีแห่งปักษ์ได้ คุณอนันด์ คณานุรักษ์ ซึ่งได้บันทึกถึงเรื่อง ราวในช่วงนี้ที่ปรากฎเป็นเหตุอัศจรรย์ไว้ว่า คืนวันหนึ่งในปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2495 เวลาใกล้รุ่งข้าพเจ้าฝันว่าได้พบกับท่าน ณ ที่แห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดข้างให้มากนัก ท่านได้มอบยาชนิดหนึ่งให้ข้าพเจ้ากิน แล้วสวมมงคลรัดศีรษะให้อีก แสดงว่าท่านได้รับข้าพเจ้าไว้เป็นศิษย์ เพื่อจะให้ข้าพเจ้าได้รับใช้งานของท่านในโอกาสต่อไป เป็นการสนองคุณพระอาจารย์ เสร็จแล้วท่านเดินจากข้าพเจ้าไปทางทิศที่ตั้งของวัดช้างให้ รุ่งเช้าข้าพเจ้าคิดว่าสถูปศักดิ์สิทธิ์หน้าวัดช้างให้นี้คงจะเป็นสถูปซึ่งได้บรรจุอัฐิของท่าน หรือสมเด็จเจ้าพะโคะ เมื่อสมัยหลายร้อยปีมาแล้วเป็นแน่ ข้าพจ้าปรารถนาจะไปที่วัดเพื่อสืบถามดู แต่ในระยะนั้น ข้าพเจ้ามีธุรกิจจำเป็นบางประการไม่สามารถจะไปได้ตามความตั้งใจ โอกาสต่อมา เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2497 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 ข้าพเจ้าจึงมีโอกาสออกจากบ้านมาถึงตลาดนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จึงได้แวะชวนนายชาติ สิมศิริ กำนัน นายกวี จิตตกูล นายวิศิษฐ์ คณานุรักษ์ พากันไปวัดช้างให้” ถึงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2497 ตรงกับวันอาทิตย์ เดือน 5 ขึ้น 15 ค่า เวลาเที่ยงตรง ได้ฤกษ์พิธีปลุกเสกพระเครื่อง ณ เนินดินบริเวณโบสถ์เก่า โดยมีท่านพระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม ธมฺมธโร) เจ้าอาวาสเป็นองค์ประธานในพิธีและนั่งปรก ได้อาราธนาอัญเชิญวิญญาณหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดพร้อมด้วยวิญญาณหลวงพ่อสี หลวงพ่อทอง และหลวงพ่อจันทร์ ซึ่งหลวงพ่อหลวงพ่อทั้งสามองค์นี้สถิตอยู่ร่วมกับหลวงพ่อทวด ในสถูปหน้าวัด ขอให้ท่านประสิทธิ์ประสาทความศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังแก่พระเครื่อง ... ปรากฏว่าในวันนั้นกรรมการได้รับเงินจากผู้ใจบุญโมทนาสมทบทุนสร้างโบสถ์เป็นจำนวน 14.000 บาท หลังจากนั้นมา ด้วยอำนาจบุญบารมีอภินิหารหลวงพ่อทวด ดลบันดาลให้พี่น้องหลายชาติ หลายภาษาร่วมสามัคคี สละทรัพย์โมทนาสมทบทุนสร้างโบสถ์เรื่อยๆ มา งานก่อสร้างโบสถ์จึงมีกำลังดำเนินการต่อไปโดยมิได้หยุดยั้ง จนถึงวันที่ 19 สิงหาคม 2499 ได้จัดทำพิธียกช่อฟ้าและวันที่ 31 พฤษกาคม 2501 พิธีผูกพัทธสีมา โบสถ์หลังนี้จึงสำเร็จสมบูรณ์ ข้าพเจ้าปรารภกับ ท่านพระครูวิสัยโสภณว่า พระเครื่องนี้จะให้ชื่อว่า พ่อท่านทวดตามความนิยมเรียกของคนถิ่นนั้นแต่ท่านพระครูฯ นั่งสมาธิถามท่าน ท่านว่าไม่เอา ถามต่อไปว่าจะให้ชื่อว่าสมเด็จเจ้าพะโคะหรือ ท่านว่าชื่อนี้ให้เขาเรียกกันทางโน้นหมายถึงภูมิลำเนาเดิม หรือ วัดพะโคะ ถ้ากระนั้นจะชื่ออย่างไร? วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของท่านบอกว่า ให้ชื่อ "หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" จึงให้ชื่อพระเครื่องตามนั้น มีข้อน่าสังเกตเกี่ยวกับธรรมชาติใน องค์หลวงปู่ทวดเนื้อว่านที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2497 ที่น่าสนใจดังนี้ - ในระยะแรกมีความเป็นห่วงถึงความคงทนของเนื้อพระ เนื่องจากเป็นการผสมโดยมีดินกากยายักษ์สีดำเป็นมวลสารหลักผสมกับว่านประเภทต่างๆ แต่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันว่า องค์พระมีความคงทนแม้จะหดตัวตามธรรมชาติ แต่ก็ไม่มีการปริแตกระเบิด หักเปราะ ฯลฯ - กลิ่นจะไม่มีความฉุนของน้ำมันตังอิ้ว หรือ ว่านยา นอกจากองค์ที่มีผู้บูชาประพรมน้ำอบน้ำหอมก็จะมีกลิ่นดอกมะลิตามปกติ นอกจากนี้ยังมีน้ำหนักถ่วงมือไม่เบาโหวงเหมือนพระที่ทำขึ้นใหม่ แรกเริ่มนั้นจะสร้างเพียง 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ กลาง และพิมพ์เล็ก แต่เนื่องจากต้องกดพิมพ์จำนวนมากโดยใช้ผู้กดหลายคนจึงขยายแม่พิมพ์ออกไปมีทั้ง พิมพ์กลักไม้ขีด พิมพ์กรรมการ พิมพ์พระรอด พิมพ์ต้อ และพิมพ์อื่นๆ เนื่องจากแม่พิมพ์สร้างจากขี้ครั่งพุทรา ซึ่งมีลักษณะเหนียวเป็นยางสีดำแดง แต่เมื่อกดมากๆ จะเกิดรอยปริในแม่พิมพ์ส่งผลให้หลวงปู่ทวดในพิมพ์เดียวกัน มีตำหนิอันเนื่องจากรอยแตกแยกออกมาเป็นอีกหลายพิมพ์ พิมพ์ใหญ่จะแยกเป็นหูขีด พิมพ์ A พิมพ์ลึก พิมพ์ไหล่จุด ส่วนพิมพ์ใหญ่กรรมการเนื้อจะออกเป็นสีดำและมีความลึกชัดกว่าพิมพ์อื่น องค์พระมีหลากหลายสี ถ้าเป็นกรรมการจะออกสีดำ ส่วนพิมพ์ทั่วไปจะออกสีเทานวล แต่จะพบเห็นสีแดงนวลบ้างเข้าใจว่าเป็นเพราะผสมว่านสบู่เลือดลงไปมาก ใต้ฐาน (ก้น) จะมีรอยก้านไม่ไผ่เสียบเป็นรูสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็กๆ บางองค์ใช้ก้านธูปเสียบขึ้นมาจากแม่พิมพ์ ทำให้รูมีลักษณะกลม ส่วนบางองค์ผู้กดใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้บีบสองข้างด้านล่างบริเวณฐานจึงไม่มีรู แต่มีรอยบีบเล็กน้อย มวลสารที่ส่องจะพบเห็นเม็ดคล้ายอิฐแดงบดละเอียด สันนิษฐานว่าอาจเป็นเศษพระซุ้มกอเม็ดสีขาวบดละเอียด หรือ เศษสมเด็จหลวงปู่ภู และเม็ดแร่สีดำทองเรียก "แร่กิมเซียว" องค์เมื่อนำออกจากแม่พิมพ์ก็จะใช้นิ้วกดเม็ดแร่กิมเซียวที่ด้านหลังองค์พระ แต่ไม่พบมากในบรรดาพิมพ์ใหญ่ ให้ส่องดูริมด้านหน้าขององค์พระ มักจะพบกรอบของแม่พิมพ์อยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง ด้านหลังมักเห็นเป็นรอยนิ้วมือมีทั้งหลังเรียบและหลังอูม ฐานบัวจงใจแกะแม่พิมพ์เป็นนูนสูงมีมิติ เกือบเป็นกลีบบัวห้าเหลี่ยม ส่วนบัวล่างแกะได้ไม่ชัดนักมองเผินๆ จะเป็นบัวสี่เหลี่ยมจัตุรัส ให้สังเกตจุดสำคัญที่ปรากฎเกือบทุกพิมพ์และทุกองค์คือ ใบหูข้างซ้ายของหลวงปู่จะติดกับหน้ามากกว่าข้างขวาทำให้เกือบไม่เห็นใบหู, บริเวณสุดชายผ้าจีวรที่คลุมแขนซ้ายต่อกับมือเนื้อจะเห็นเป็นรอยผ้าจีวรย้วย, บริเวณสุดชายผ้าบริเวณขาขวาจะเห็นรอยต่อมองดูไม่เป็นสี หรือเนื้อ กลืนกันกับเนื้อแข้ง, พื้นผนังจากขอบนอกสุดถึงองค์พระมักจะเป็นแอ่งกระทะไม่ตัดตรงครับ #ป๋องสุพรรณการันตี
อัพเดต: 06/11/2024
| อ่าน: 74 คน
ประวัติและความเป็นมา "หลวงพ่อทวด พิมพ์พระรอดหน้าใหญ่ เนื้อว่าน ปีพ.ศ.2497"
15/11/2021
400
เหรียญอนุสรณ์ครบ 100 ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โตพฺรหฺมรํสี) ปี พ.ศ.2515 วัดระฆังโฆสิตาราม
13/09/2024
124
ประวัติและความเป็นมา "รูปหล่อหลวงพ่อเดิม วัดหนองหลวง รุ่นแรก พิมพ์ฐานสูง"
29/06/2021
18,625
ประวัติและความเป็นมา "พระนาคปรกใบมะขาม พิมพ์ฐานสองชั้น บล็อกแตก เนื้อทองแดง กะไหล่ทอง วัดอนงคาราม"
06/05/2021
5,525