ประวัติและความเป็นมา "พระปิดตาพิชัย พิมพ์บายศรี4หน้า เนื้อสีแดง(เผือก)"

        "พระปิดตาพิชัย พิมพ์บายศรี4หน้า เนื้อสีแดง(เผือก)"<br />      พระปิดตาพิชัยเป็นพระปิดตารุ่นเก่าที่สันนิษฐานกันว่าเป็นพระที่สร้างมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ประวัติความเป็นมาก็ยังไม่มีหลักฐานบันทึกหรือการพบที่กรุพระเจดีย์ของวัดใด       เนื่องจากพบกระจัดกระจายพร้อมกับพระกริ่งคลองตะเคียน บริเวณโคนดินตามทุ่งนาแถวคลองตะเคียน และบริเวณที่พบนั้นก็ยังพบเศษอิฐเก่าปะปนในบริเวณนั้นด้วย สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดเก่าเล็กๆ ที่เสื่อมสภาพลง  ภายหลังจากการเสียกรุงครั้งที่สอง พระทั้งสองแบบนี้มีเนื้อหาและลักษณะการจารที่องค์พระแบบเดียวกัน จึงทำให้สันนิษฐานว่าผู้ที่สร้างน่าจะเป็นคนเดียวกัน และสร้างในคราวเดียวกัน  ก็มีคำถามอยู่เรื่องหนึ่งว่าทำไมจึงตั้งชื่อพระปิดตาแบบนี้ว่าพระปิดตาพิชัย ทำไมไม่ตั้งชื่อว่าพระปิดตาคลองตะเคียน หรือพระยาพิชัยดาบหักมีส่วนในการสร้างพระไว้เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการสู้รบกับพม่า แต่พระกริ่งคลองตะเคียนทำไมไม่ตั้งชื่อว่าพระกริ่งพิชัยด้วยเล่า เรื่องนี้ก็คงต้องค้นคว้าศึกษาต่อไปนะครับ<br />      เราลองมาดูประวัติของพระยาพิชัยดาบหักโดยย่อกันสักหน่อยนะครับ ท่านเป็นชาวพิชัยโดยกำเนิด ซึ่งท่านได้รับราชการ กู้ชาติ สร้างวีรกรรมอย่างห้าวหาญในการกอบกู้อิสรภาพฐานะทหารเอกคู่พระทัยของพระเจ้ากรุงธนบุรี จนมีความดีความชอบได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองพิชัย<br />      ครั้นถึงปีพ.ศ.2314 เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเพิ่งเสด็จศึกทางด้านเขมรลงมาใหม่ๆ กองทัพพม่าที่ตั้งอยู่เชียงใหม่ได้รุกดินแดนทางเหนือลงมาอีกครั้ง จนถึงกับต้องล้อมเมืองพิชัยเอาไว้ (เมืองพิชัยคือเมืองอุตรดิตถ์ปัจจุบัน) พระยาพิชัยได้จัดการป้องกันเมืองอย่างเต็มความสามารถ และเจ้าพระยาสุรสีห์ ผู้สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก ได้ยกกองทัพขึ้นไปช่วยการรบในครั้งนั้น ไทยกับพม่าได้ต่อสู้โรมรันกันถึงขั้นตะลุมบอน กองทัพพม่ามิอาจจะทนทานได้ก็แตกทัพกลับไป พระยาพิชัยได้รบอย่างสุดกำลังด้วยดาบสองมือ ได้ห้ำหันบั่นคอข้าศึกเสียเป็นจำนวนมาก<br />      จนกระทั่งดาบในมือขวาถึงกับหักสะบั้น จึงได้รับสมญานามว่า “พระยาพิชัยดาบหัก” เป็นเกียรติประวัติสืบมา ด้วยคุณความดีและวีรกรรมของท่านชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ จึงพร้อมใจกันจัดสร้างอนุสาวรีย์พระยาพิชัย ดาบหักขึ้นไว้เป็นอนุสรณ์ เพื่ออนุชนรุ่นหลังจะได้จดจำสืบต่อไป และได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อปีพ.ศ.2513<br /> จะเป็นด้วยชื่อเสียงเกียรติคุณของท่าน ซึ่งเป็นนักรบที่กล้าหาญกรำศึกมาอย่างโชกโชน มีน้ำใจเด็ดเดี่ยว ซึ่งการรบพุ่งในสมัยนั้นถึงขั้นประชิดตัวดวลกันด้วยดาบเข้าทำนองมึงทีกูที ในสมัยก่อนเมื่อทำการศึกก็ต้องรบประชิดติดตัวกัน จะอาศัยกำลังฝีมือแต่ประการเดียวเห็นทีจะเอาตัวรอดยาก เข้าทำนองสาดน้ำรดกันย่อมจะต้องเปียกมากหรือเปียกน้อยด้วยกันทั้งคู่<br /> แต่ท่านพระยาพิชัยท่านก็ปลอดภัยมาโดยตลอด นอกจากท่านจะมีฝีมือเพลงดาบแล้วท่านก็ยังมีวิชาดีหนังเหนียวเป็นเยี่ยมเช่นกัน แต่ท่านจะอยู่คงด้วยคาถาหรือเครื่องรางอันใดนั้นคงไม่ทราบ<br />      มีพระเครื่องปิดตาของอยุธยาแบบหนึ่ง ที่คนรุ่นเก่าๆ ต่างขนานนามว่า “พระปิดตาพิชัย” สันนิษฐานว่าเมื่อมีผู้พบพระเครื่องชนิดนี้ และมีประสบการณ์ทางด้านอยู่คงอย่างมากจนเป็นที่ประจักษ์ กล่าวขวัญเล่าลือกันไปทั่ว จนถึงกับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติฯ ท่านยังกล่าวว่า ท่านเองก็ยังเห็นกับตา และยกย่องพระกริ่งคลองตะเคียนและพระปิดตาพิชัยว่าเชื่อถือได้จริง ด้วยสาเหตุนี้กระมังคนโบราณจึงนำชื่อพระยาพิชัยมาเป็นเกียรติในการตั้งชื่อพระเครื่องชนิดนี้ว่า “พระปิดตาพิชัย”<br /> พระปิดตาพิชัยนั้นเนื้อหาและองค์พระมีการจารลงอักขระเลขยันต์แบบเดียวกับพระกริ่งคลองตะเคียน และมีการพบอยู่ในบริเวณเดียวกัน ผมเคยสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ของอยุธยา ซึ่งในตอนนั้นท่านยังมีชีวิตอยู่และท่านก็เป็นคนพื้นที่แถบคลองตะเคียน ได้บอกว่าพระกริ่งคลองตะเคียนพร้อมกับพระปิดตาพิชัยถูกพบแถวโคกดินเล็กๆ และมีเศษอิฐกระจัดกระจายไปทั่วบริเวณ<br /> สันนิษฐานว่าโคกดินแห่งนี้คงเป็นวัดเล็กๆ ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา และถูกทำลายเสื่อมสภาพลงกลายเป็นวัดร้างหลังจากการเสียกรุงครั้งที่ 2 พระกริ่งคลองตะเคียนและพระปิดตาพิชัยประวัติความเป็นมาถึง ผู้สร้างยังไม่ชัดเจนนัก และชื่อของวัดคือวัดอะไรก็ยังไม่ปรากฏ จึงมักจะเรียกพระที่เป็นพระกริ่งเนื้อดินเผาเป็นพระกริ่งคลองตะเคียนตามสถานที่ที่พบพระ<br /> และพระปิดตา ก็เรียก กันว่าพระปิดตาพิชัย ตามที่เรียกหากัน ในปัจจุบัน แต่ประสบการณ์ที่ประจักษ์นั้นแน่นอนนัก เป็นที่ยอมรับกันทั่วหน้าครับว่าเด่นทางอยู่ยงคงกระพันเป็นเลิศ พระปิดตาพิชัยมีทั้งที่เป็นแบบหน้าเดียว สองหน้า สามหน้า และสี่หน้าครับ สีโดยส่วนใหญ่มักจะเป็นสีดำ ที่เป็นสีเขียวมอย และสีออกน้ำตาลแดง(เผือก)ก็มีบ้าง แต่พบน้อยครับ     #สถาบันรับรองและตรวจสอบวัตถุมงคลประเทศไทย เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ ชั้น 1 (เปิดบริการทุกวัน)<br /> เวลา 11.00 น. - 20.00 น.  ติดต่อ 02-1938223-4 / 065-5824972    

  อัพเดต: 10/02/2020

  อ่าน:  4,046  คน