ประวัติและความเป็นมา "พระขุนแผน พิมพ์ห้าเหลี่ยม อกใหญ่ฐานสูง กรุวัดใหญ่ชัยมงคล"

           "พระขุนแผน พิมพ์ห้าเหลี่ยม อกใหญ่ฐานสูง กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา"<br />       มูลเหตุการสร้าง "พระขุนแผนเคลือบ" นั้น มาจากเมื่อคราวที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำสงครามยุทธหัตถี ชนะพระมหาอุปราชา พอเสด็จฯ กลับมายังพระนครจึงโปรดฯ ให้สร้างพระมหาเจดีย์ใหญ่ขึ้นไว้เป็นพุทธบูชาและเป็นอนุสรณ์แห่งการสงคราม ที่วัดป่าแก้ว หรือที่เรียกเป็นทางการว่า "วัดใหญ่ชัยมงคล" และในการสร้างพระมหาเจดีย์ที่วัดป่าแก้วนี้ สมเด็จพระพนรัต พระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายอรัญวาสี ผู้ถือปฏิบัติทางวิปัสสนาธุระ เป็นผู้รจนาคัมภีร์มหาศาสตราคม อักขระเลขยันต์ ตลอดจนตำรับตำราการสร้างพระพุทธรูป และตำราการสร้างพระกริ่ง ซึ่งเป็นที่แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน     พระขุนแผนเคลือบ วัดใหญ่ชัยมงคล เป็นพระพิมพ์เนื้อดินละเอียด สีขาวนวล สันนิษฐานว่า กรรมวิธีการจัดสร้างตลอดจนขั้นตอนการเตรียมดิน แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาการมาจากการทำเครื่องปั้นดินเผาของจีน เนื้อขององค์พระจึงละเอียดและขาวนวล พุทธลักษณะเป็นพระพิมพ์ทรงห้าเหลี่ยม องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย มีซุ้มเรือนแก้วเป็นปริมณฑล ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธชินราช แห่งเมืองพิษณุโลก      นอกจากนั้นยังมีการเคลือบด้วยน้ำยาเคลือบสีเหลืองทองหรืออมเขียวเล็กน้อย คล้ายกับการเคลือบโอ่งมังกรในสมัยก่อน ซึ่งเป็นการอนุรักษ์เนื้อพระได้เป็นอย่างดี แทนการลงรักปิดทอง<br /> โดยใช้ ดินเทศ หินฟันม้า และไม้มะก่อ กวนขึ้นเป็นน้ำยาเคลือบ แล้วใช้วิธีจุ่มพระโดยเน้นด้านหน้าเป็นหลัก ก่อนเข้าเตาเผา แต่เรายังไม่เก่งในเรื่องการควบคุมอุณหภูมิ การหดตัวของเนื้อกับน้ำยาเคลือบจึงไม่ได้สัดส่วนกัน กล่าวคือภายในยังไม่แห้งแต่ภายนอกแห้งก่อน ทำให้น้ำยาเคลือบรัดตัว เกิดรอยรานเล็กๆ เหมือนเปลือกไข่บุบ ส่วนในซอกลึกจะมีสีน้ำยาเข้มๆ ติดอยู่ ซึ่งกลายเป็นความสวยงามที่กระทั่งจีนต้นตำรับยังไม่สามารถทำได้      พระขุนแผนเคลือบ วัดใหญ่ชัยมงคล แบ่งออกได้เป็น ๓ พิมพ์ คือ                  1. พิมพ์อกใหญ่ ฐานสูง                  2. พิมพ์อกใหญ่ ฐานเตี้ย                  3. พิมพ์แขนอ่อน    พระขุนแผนเคลือบนอกจากจะมีที่วัดใหญ่ชัยมงคลแล้ว ยังมีขึ้นในหลายที่ เช่น ที่กรุโรงเหล้า จะไม่มีน้ำยาเคลือบ แต่เป็นพระพิมพ์เดียวกันกับวัดใหญ่ชัยมงคล หรือที่วัดเชิงท่า จ.นนทบุรี มีผู้พบพระพิมพ์นี้ในราวปี พ.ศ.2506 แต่ผิดกับของ วัดใหญ่ชัยมงคล คือน้ำยาเคลือบจะใสกว่าและสีไม่เข้มเท่า ต่อมาในปี พ.ศ.2528 ยังพบที่ ต.บางใหญ่ จ.นนทบุรี โดยน้ำยาเคลือบจะมีสีเขียวอ่อน และเนื่องจากน้ำท่วมอยู่บ่อยๆ จึงมีคราบดินทรายเกาะติดตามพื้นผิวขององค์พระ   "พระขุนแผนเคลือบ" นับเป็นพระเครื่องยอดนิยม ที่ทรงพุทธคุณครบครันเป็นที่ปรากฏ ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี เป็นพระค่อนข้างหายากมาก ทำให้สนนราคาค่อนข้างสูง ปัจจุบันเช่ากันหลักล้านแล้วครับทั้ง ๓ พิมพ์     #สถาบันรับรองและตรวจสอบวัตถุมงคลประเทศไทย เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ ชั้น 1 (เปิดบริการทุกวัน)<br /> เวลา 11.00 น. - 20.00 น.  ติดต่อ 02-1938223-4 / 065-5824972

  อัพเดต: 27/02/2020

  อ่าน:  14,188  คน