ประวัติและความเป็นมา "พระชัยวัฒน์ พิมพ์ลึกน้ำเต้าเอียง สมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์ ปี พ.ศ.2482"

          "พระชัยวัฒน์ พิมพ์ลึกน้ำเต้าเอียง สมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์ ปี พ.ศ.2482"<br />      การสร้างพระชัยวัฒน์น้ำเต้าเอียงนั้นเกิดขึ้นหลังจากที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ท่านทรงเห็นว่าทุกคนมีความเหน็ดเหนื่อยและเสียสละจากงานหล่อพระกริ่งหน้าอินเดียซึ่งเป็นพระกริ่งที่มีจำนวนการสร้างมากที่สุดสำหรับวัดสุทัศน์ฯในสมัยนั้น  จึงรับสั่งให้ท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) นำทองชนวนที่เหลือเป็นจำนวนมาก มาจัดสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ขึ้นเป็นพิเศษเพื่อประทานเป็นรางวัลแก่กรรมการและผู้ร่วมงาน พระชัยวัฒน์น้ำเต้าเอียงพิมพ์ลึกที่นำมาให้ชมองค์นี้ ปัจจุบันเป็นที่นิยมกับนักสะสมพระเครื่องสายวัดสุทัศน์ฯ ราคาค่านิยมอยู่ที่หลักหมื่นกลางถึงปลายแล้วแต่สภาพความสวย มีบันทึกถึงสูตรการผสมของพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ฯว่า ทางวัดสุทัศน์นั้นมีสูตรการผสมโลหะจากตําราสืบทอดมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งเชี่ยวชาญในพระเวทย์และการเล่นแร่แปรธาตุ ท่านได้แต่งตําราสูตรโลหะสำหรับการหล่อพระขึ้นมา  ต่อมาตําราสูตรการผสมโลหะได้ตกทอดมาถึง  สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร  ผู้สร้างพระกริ่งปวเรศ และส่งต่อมาถึงท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม และท้ายสุดได้ตกทอดมายังสมเด็จสังฆราช(แพ) <br /> บันทึกของวัดสุทัศน์ที่กล่าวถึงการหล่อพระชัยวัฒน์น้ำเต้าเอียงนั้นว่า เมื่อสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังฆราชประมาณ 1 ปี โดยในปี พ.ศ. 2482 คณะศิษย์ในสมเด็จพระสังฆราช(แพร)นำโดยพระชัยปัญญาฯ,พระราชอากร และอาจารย์แสวงวัดสระเกศ ได้ทูลขอให้พระองค์ไปเป็นประธานสร้างพระกริ่งและพระชัยฯ ที่วัดสระเกศ แต่พระองค์ท่านให้มาจัดสร้างที่วัดสุทัศน์ฯ แทน โดยท่านได้มอบหมายให้ท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์)เป็นแม่งานหล่อพระกริ่ง และท่านทรงเป็นประธานเททองด้วยพระองค์เอง พระกริ่งรุ่นนี้ประกอบด้วย พระกริ่งพิมพ์นะโภคทรัพย์ ประมาณ 400 องค์ พระกริ่งหน้าอินเดียพิมพ์หน้าใหญ่ และพิมพ์หน้าเล็กประมาณ 4,000 องค์ วรรณะโลหะเหลืองอมขาว การสร้างในครั้งนี้เป็นการสร้างพระจำนวนมาก จึงใช้ทองล่ำอู่ เป็นตัวยืน ประกอบด้วยแผ่นยันต์ 108 และนะปถมัง 14 นะ รวมกับเงินพดด้วงตรายันต์และตราราชวัตร หลังจากพิธีเททองเสร็จสิ้นแล้ว ช่างก็นำพระกริ่งมาบรรจุเม็ดกริ่งและอุดช่องเม็ดกริ่ง เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านทรงเห็นว่าทุกคนมีความเหน็ดเหนื่อยและเสียสละ จึงรับสั่งให้ท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) นำทองชนวนที่เหลือเป็นจำนวนมาก มาสร้างพระกริ่งเพื่อประทานเป็นรางวัลให้แก่ผู้ที่มาช่วยงาน ท่านเจ้าคุณศรีฯ ท่านจึงทูลขออนุญาตจัดสร้างพระกริ่งในวันงานฉลองพระชนม์ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 จำนวน 500 องค์ พร้อมด้วยพระชัยวัฒน์ขนาดเล็กอีกเป็นจำนวนมาก       เนื่องจากการสร้างพระชัยวัฒน์ครั้งนี้มีจำนวนมาก ท่านเจ้าคุณศรีฯ จึงแบ่งงานออกเป็นสองกลุ่ม โดยพระกริ่งหน้าไทย และพระชัยวัฒน์พิมพ์น้ำเต้าเอียง และพิมพ์น้ำเต้าตรงประมาณ 2,000 องค์ มอบให้นายช่างหรัส พัฒนางกูร เป็นผู้หล่อ ส่วนพระชัยวัฒน์พิมพ์ค่อนข้างสูงกว่าพิมพ์น้ำเต้าตรงเล็กน้อย นายช่างประสาร ศรีไทย เป็นผู้หล่อ ปรากฏว่าพระชัยวัฒน์พิมพ์ที่นายช่างประสารหล่อชำรุดเสียหายทั้งหมด        ท่านเจ้าคุณศรีฯ ท่านจึงได้ให้นำพระชัยวัฒน์ที่ชำรุดมาทำแม่พิมพ์ใหม่และใช้การปั๊มซ้ำลงไป แต่ก็เกิดการแตกไม่ติดเป็นองค์พระ จึงต้องนำพระทั้งหมดไปหลอมใหม่ และผสมทองแดงเพิ่มลงไปเพื่อให้เกิดความเหนียว และนำมาปั๊มใหม่ เกิดเป็นสองพิมพ์คือ พิมพ์ป้อมและพิมพ์ยืด จำนวน 1,500 องค์      พระชัยวัฒน์น้ำเต้าเอียง จำนวนที่สร้าง 1,000 องค์ เนื้อออกกระแสเหลืองอมขาวเนื่องจากผสมเงินพดด้วงเป็นจำนวนมาก พอนานวันเข้าผิวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน บางองค์ออกสีน้ำตาลปนดำ ซึ่งได้มีการแยกเป็นพิมพ์กรรมการ,พิมพ์ลึก และพิมพ์ตื้น โดยใช้ทองเบ้าเดียวกับพระกริ่งหน้าไทยนั้นเอง     #สถาบันรับรองและตรวจสอบวัตถุมงคลประเทศไทย เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ ชั้น 1 (เปิดบริการทุกวัน)<br /> เวลา 11.00 น. - 20.00 น. ติดต่อ 02-1938223-4 / 065-5824972

  อัพเดต: 02/03/2020

  อ่าน:  14,892  คน